สปายแวร์บนมือถือ

Posted on Leave a commentPosted in Uncategorized, รายงานภัยไซเบอร์

สปายแวร์ (Spyware) คือโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลต่างๆของผู้ใช้งาน โดยเป้าหมายส่วนใหญ่ของสปายแวร์มักมุ่งไปยัง ประวัติการใช้งานโทรศัพท์ ข้อความ ที่อยู่ รายชื่อผู้ติดต่อ อีเมล รวมถึงภาพถ่าย ซึ่งสปายแวร์โดยทั่วไปมักได้รับการออกแบบสำหรับการเฝ้าติดตามการใช้งานของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะใช้สปายแวร์ที่กำหนดเป้าหมาย ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปที่ผู้ลักลอบติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้จะเป็นผู้มีจุดประสงค์ร้ายทั้งหมด เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมประเภทนี้ถูกติดตั้งโดยผู้ที่เป็นผู้ปกครองซึ่งมีความหวังดีต่อผู้ใช้งาน เช่น ผู้ปกครองติดตั้งโปรแกรมการตรวจสอบสถานที่การใช้งานบนโทรศัพท์มือถือของลูกที่อยู่ในการดูแล สปายแวร์มีเทคนิคที่หลากหลายเพื่อที่จะขโมยหรือได้มาซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บในมือถือนั้นๆ ตัวอย่างเช่นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายบนโทรศัพท์มือถือสามารถอ่านข้อมูลส่วนตัวบนอุปกรณ์ได้ เช่น ข้อความตัวอักษรหรือภาพถ่ายที่จัดเก็บไว้ในเครื่อง นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายยังสามารถเปิดทำงานเซนเซอร์ของโทรศัพท์ เช่น ไมโครโฟน กล้อง หรือ GPS เพื่อค้นหาพิกัดตำแหน่งของโทรศัพท์ หรือเพื่อตรวจสอบสภาพโดยรอบ หรือแม้แต่เปลี่ยนโทรศัพท์ให้เป็นอุปกรณ์ดักฟัง รัฐบาลของบางประเทศนำเทคนิคนี้มาใช้เพื่อสืบความลับของผู้คนผ่านทางโทรศัพท์ และทำให้ผู้คนวิตกกังวลเมื่อต้องสนทนากันในเรื่องที่เป็นความลับและมีโทรศัพท์อยู่ในห้อง บางคนตอบสนองเรื่องนี้ ด้วยการวางโทรศัพท์ไว้อีกห้องหนึ่ง เมื่อต้องสนทนาในเรื่องที่เป็นความลับ หรือด้วยการปิดเครื่องโทรศัพท์ บ่อยครั้งที่ทางรัฐบาลเองก็ห้ามไม่ให้ผู้คน หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาล นำโทรศัพท์มือถือส่วนตัวเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ที่มีข้อมูลสำคัญหรือความลับ โดยส่วนใหญ่ก็เนื่องจากความกังวลว่าโทรศัพท์อาจติดซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายที่ทำให้สามารถบันทึกเสียงการสนทนาได้ ความกังวลอีกอย่างหนึ่งคือ ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายอาจทำให้โทรศัพท์ดูเหมือนปิดเครื่องแล้วตามหลักการ ในขณะที่ยังคงเปิดเครื่องไว้อยู่อย่างลับๆ และแสดงเป็นหน้าจอดำ ดังนั้นผู้ใช้จึงเข้าใจผิดคิดว่าได้ปิดเครื่องไปแล้ว ความกังวลในเรื่องนี้ทำให้ผู้ใช้บางรายถึงกับถอดแบตเตอรีออกจากโทรศัพท์ของพวกเขา เมื่อต้องสนทนากันในเรื่องที่เป็นความลับ ดังที่เราได้อธิบายไว้ข้างต้น การป้องกันไว้ก่อนด้วยการปิดเครื่องโทรศัพท์อาจทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผิดสังเกตได้ อย่างเช่น ถ้าคน 10 คนเดินทางไปที่อาคารเดียวกัน แล้วปิดเครื่องโทรศัพท์ของพวกเขาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน […]

ชอบนะ แต่ไม่อยากแสดงออก (LINE APP).

Posted on Leave a commentPosted in Uncategorized, ความรู้โซเชียลมีเดีย

หลังจากที่อัปเดท LINE เวอร์ชั่น 5.0 แล้วหลายๆ คนพบว่าหลังจากที่กด Like สถานะของเพื่อนๆ ที่ตั้งค่าไว้แบบ Public (สามารถตั้งค่าได้ว่าจะแชร์แบบ Public, My LINE Friends, Only ME) แล้วพบว่าสถานะที่เราไปกด Like ถูกแชร์ไปยัง Timeline ให้เราได้เห็นด้วย มาดูวิธีการตั้งค่าไม่ให้การกด Like ถูกแชร์ไปยัง Timeline ให้เพื่อนเราเห็นกันครับ ตัวอย่างการกด Like ของเราและเพื่อนจะเห็นด้วยว่าเราได้กด Like สถานะหรือโพสต์นั้นๆ ซึ่งจะถูกแชร์มายัง Timeline ถึงแม้ว่าสถานะนั้นๆ จะถูกโพสต์ไว้นานแล้ว วิธีกด Like ไม่ให้แชร์ไปยัง Timeline ทั้ง iOS และ Android ตอนกด Like จะเห็นว่ามีติ๊กถูกอยู่ตรงคำว่า Share on Friends Timeline ให้เอาติ๊กถูกตรงนี้ออกแค่นี้สถานะที่ถูกตั้งค่าให้โพสต์แบบ Public ไว้ก็จะไม่ถูกแชร์ออกมาให้เพื่อนๆ เห็นใน Timeline อีกต่อไปครับ                 […]