เคล็ดลับ เซฟเน็ตบน Android ที่คุณเองก็ทำได้!!

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์

หมดกังวลกับการใช้ดาต้าที่แสนจะจำกัด เพียงทำตาม 5 เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์   1.ลดปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ ด้วยการเปิดโหมด Chrome Data Saver Mode ตั้งแต่การบีบอัดหน้าเว็บเพจให้มีขนาดเล็กลงไปจนถึงการย้ายรูปภาพต่างๆ ที่มักทำให้หน้าเว็บโหลดช้า ช่วยประหยัดได้สูงถึง 70% 2. ดูวิดีโอต่างๆ ด้วย YouTube แบบออฟไลน์ ซึ่งคุณจะชมวิดีโอบ่อยแค่ไหนก็ได้เท่าที่ต้องการโดยไม่เปลืองค่าเน็ต และไม่ต้องเสียเวลารอวิดีโอโหลดข้อมูลในแต่ล่ะครั้งด้วย 3. ใช้ Google Maps โดยไม่ต้องเชื่อมต่อข้อมูลใดๆ เพียงดาวน์โหลดแผนที่และเชื่อมต่อฟีเจอร์แผนที่คล้ายระบบนำทางแบบ turn-by-turn ก็สามารถใช้งานแผนที่ได้โดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตด้วย Google Maps Offline 4. หาและลบแอปพลิเคชั่นที่ใช้ข้อมูลเยอะเกินความจำเป็นบนเครื่อง ไปที่ setting > และเลือก Data usage บนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ ซึ่งคุณอาจแปลกใจกับการใช้ดาต้าของแอปที่แทบไม่เคยเเตะบางตัวที่กำลังโหลดข้อมูลมหาศาลอยู่ตอนนั้น 5. ปิดระบบการอัพเดตแอปแบบอัตโนมัติบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์โดยเปิด Google Play และแตะที่ไอคอน 3 เส้นแนวนอนบนหน้าจอด้านบนซ้ายมือ จากนั้นไปที่ Setting และกดเลือก Auto-update apps และเลือก Do not auto-update apps หรือ Auto-update apps […]

เตรียมใจก่อน Reset from Factory

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้แอนดรอยด์

ในหลายๆ กรณีที่จู่ๆ แอนดรอยด์คู่ใจของเราที่ใช้มันอยู่ทุกวัน ก็มีอาการรวนๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะการอัพเดทไม่สมบูรณ์บ้าง โดนไวรัสบ้าง แอพฯ บางตัวส่งผลให้ทำงานผิดพลาดบ้าง หลายคนพบเจอปัญหาเหล่านี้ ก็ทนๆ ใช้ไป จนสุดท้ายแอนดรอยด์กลับทนไม่ไหวซะเอง ดับไปซะดื้อๆ อย่างนั้น จะเปิดขึ้นมาก็ค้างอยู่หน้านู้น หน้านี้บ้าง จะเข้าไปทำการ Factory Reset (คืนค่าโรงงาน) ก็เข้าไม่ได้ เพราะไม่สามารถเปิดเมนู Setting (ตั้งค่า) ได้ ก็เลยแก้ปัญหาไม่ได้ไปซะงั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว การ Factory Reset นั้น นอกจากจะไปเปิดการใช้งานในส่วนของ Setting แล้ว ยังสามารถสั่งการตอนเปิดเครื่องเหมือน BIOS โหมดของ PC ได้ ซึ่งสำหรับแอนดรอยด์ ก็คือการ Hard Factory Reset ในส่วนของ Recovery Mode นั่นเอง ในการเข้าสู่ Recovery Mode ให้ได้นั้น จำเป็นต้องใช้ปุ่มต่างๆ บนมือถือในการกดเพื่อเข้าไป แต่ก็มีอีกปัญหาหนึ่งก็คือปุ่ม […]

การล็อกหน้าจอสมาร์ทโฟน

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์, ความรู้ไอโฟน

ระบบมือถือสมัยใหม่จะมีระบบควบคุมการเข้าถึง เช่น การใช้รหัสผ่าน การสแกนลายนิ้วมือ การใช้ PIN โค้ด หรือแม้กระทั่งการใช้ระบบจดจำเสียง (Voice Recognition) และการสแกนภาพหน้าเป็นต้น ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการถอดรหัสในเข้าเข้าถึงระบบมือถือได้โดยง่าย สำหรับคนที่มักจะเผลอวางสมาร์ทโฟนไว้และอาจถูกขโมย หรือโดนเพื่อนแกล้งมาแอบเปลี่ยนวอลล์เปเปอร์ หรือ แอบมาใช้งาน Facebook ในกรณีแบบนี้ก็ดีไป แต่ถ้าหากคุณลืมโทรศัพท์ไว้จริงๆล่ะ แล้วมีผู้ไม่หวังดีมาหยิบเอาไปใช้งาน ทำ Factory reset แล้วใช้งานต่อได้ทันที ดังนั้นเราควรตั้งค่าความเป็นส่วนตัวก่อนเข้าใช้งานดีกว่าเพื่อป้องกันข้อมูลถูกขโมย สำหรับสมาร์ทโฟน Android ทั่วไปนั้นมีฟีเจอร์สำหรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้อยู่แล้ว เราสามารถตั้งด้วยวิธีง่ายๆ ไปที่ Settings > Lock screen ดูที่ Screen Security แตะที่ Screen Lock โดย Screen Lock จะมีรูปแบบให้เราเลือกอีกดังนี้ Swipe – แบบปาดหรือสไลด์เพื่อปลดล็อคหน้าจอ วิธีนี้จะไม่ปลอดภัย เพราะใครก็สามารถสไลด์เพื่อปลดล็อคเข้ามาใช้งานได้ ถ้าหากต้องการความปลอดภัยสูงวิธีนี้ไม่แนะนำ เนื่องจากอาจสามารถเดาได้ง่าย โดยอาจจะสังเกตจากรอยบนหน้าจอมือถือ Pattern – แบบวาดตามจุด […]

การโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ (OS)

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์, ความรู้ไอโฟน

มีการค้นพบช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการมือถือเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือ iOS มีการประกาศและเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็จะทำการออกแพทช์ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จะมาติดตั้งในระบบเพื่อปิดช่องโหว่ที่ค้นพบเหล่านั้น โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์จะมีการออกแพทช์มาเป็นประจำ และเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ที่จะต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแพทช์เหล่านี้เป็นประจำ ไม่เช่นนั้นระบบก็จะยังคงมีช่องโหว่และอาจเป็นช่องทางให้แฮกเกอร์หรือมัลแวร์เข้ามาในระบบได้ นักวิจัยความปลอดภัยระบบไอทีของ Zimperium ประกาศข่าวเรื่องการค้นพบช่องโหว่ Stagefright ซึ่งเป็นช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ Android ที่ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เป็นช่องทางในการเจาะเข้าสู่อุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการดังกล่าวด้วยการส่ง MMS ซ่อนมัลแวร์มาล่อผู้ใช้ กระบวนการนี้อาจต้องการหรือไม่ต้องการการกดรับจากผู้ใช้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ตั้งค่าให้แอพใดเป็นแอพที่ทำงานกับ MMS เป็นหลัก หากใช้ Messenger อันเป็นแอพดั้งเดิมของ Android สำหรับเปิด MMS มันจะไม่ทำการยุ่งเกี่ยวใดๆ กับ MMS ที่แฝงมัลแวร์มาตราบใดที่ผู้ใช้ไม่เปิดอ่านข้อความภาพนั้นเอง แต่หากผู้ใช้เลือกให้ Hangouts เป็นแอพหลักสำหรับเปิด MMS แล้ว มันจะทำการโหลดเนื้อหาของ MMS มาให้ผู้ใช้ก่อนแม้ว่าตัวผู้ใช้เองจะยังไม่กดเรียกดู MMS แต่อย่างใด ซึ่งในกรณีหลังก็ถือเป็นการเริ่มกระบวนการทำงานของมัลแวร์ได้ทันที Google เองรู้ตัวเกี่ยวกับช่องโหว่อันนี้แล้ว แต่การที่จะอุดช่องโหว่นี้ได้ ก็ต้องรอให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android เป็นผู้ปล่อยอัพเดตเฟิร์มแวร์กันเอง โดยจนถึงขณะนี้ Zimperium ยืนยันว่ามีเพียงแค่ Nexus 6 และ […]

Android Security (ภาคเสริม)

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์

แอนดรอยด์ (Andriod) เป็นระบบปฏิบัติการมือถือแบบโอเพ่นซอร์สซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากความเป็นโอเพ่นซอร์สผสมกับการที่ได้รับความนิยมในการใช้งานแอนดรอยด์จึงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีมากที่สุด ปัจจุบันมัลแวร์ที่โจมตีมือถือส่วนใหญ่จะเป็นของแอนดรอยด์มากมที่สุด ถ้าผู้ใช้เคยประสบกับตัวเองมาก่อนก็จะรู้ว่าเป็นความเสี่ยงอันตรายอย่างสูง ซึ่งอาจทำให้สูญเสียเงิน ข้อมูลที่ระบุตัวตน และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ หรืออาจทำให้โทรศัพท์เครื่องนั้นเสียหายจนใช้งานไม่ได้ ก็อาจจะทำให้ผู้ใช้สูญเสียข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในมือถือได้ เช่น รูปภาพ รายชื่อผู้ติดต่อ และอีเมล์ เป็นต้น ซึ่งจากอันตรายต่างๆที่ได้กล่าวถึงนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องป้องกันอย่างจริงจัง ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่ใช้สำหรับป้องกันมือถือจากการถูกโจมตีจากมัลแวร์หรือไวรัสต่างๆ ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันจากร้านแอพพ์สโตร์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น และควรศึกษาหรืออ่านข้อคิดเห็นจากผู้ใช้ที่เคยดาวน์โหลดแอพพ์เหล่านั้นมาใช้ก่อน เพื่อให่แน่ใจว่าแอพพ์หรือร้านแอพพ์โตร์ที่ให้ดาวน์โหลดแอพพ์นั้นมีความน่าเชื่อถือ ก่อนที่จะดาวน์โหลดแอพพ์ควรอ่านเงื่อนไขหรือนโยบายด้ายความเป็นส่วนตัว (privacy policy) ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะไม่นำข้อมูลส่วนตัวของเราไปเผยแพร่หรือแบ่งปันให้กับคนอื่นต่อ ความตรวจสอบใบแจ้งหนี้ค่าบริการโทรศัพท์เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีค่าบริการแฝงหรือผิดปกติ ค้นเจอก็ให้แจ้งผู้ให้บริการมือถือโดยทันที ควรท่องเน็ตหรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชันจากการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย (WiFi) ที่ปลอดภัยหรือน่าเชื่อถือเท่านั้น ไม่ควรโต้ตอบกับข้อความ SMS หรือ วอยซ์เมล์ด้วยการส่งข้อความที่เป็นข้อมูลส่วนตัวกลับไป ถ้าได้รับการติดต่อจากบุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจากธนาคาร บริษัท หรือองค์กรใดๆก็ตาม ให้โทรกลับไปยังเบอร์ที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบตัวตนของคนที่ติดต่อมานั้น เมื่อท่องเว็บไซต์ก็ควรตรวจสอบว่าชื่อเว็บไซต์นั้นถูกต้อง ไม่ใช่ชื่อไม่ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริงๆ ไม่ควรคลิกบนลิงค์ที่มากับอีเมล์ โซเชียวเน็ตเวิร์ค หรือข้อความที่ถูกส่งมาจากคนที่เราไม่รู้จักเลย ควรมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์บนระบบมือถือเพื่อป้องกันไม่ไห้ไวรัสสามารถโจมตีระบบมือถือได้ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับรักษาความปลอดภัยบนมือถือส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์ที่เพิ่มมาเพื่อช่วยในการป้องกันและรักษาความปลอดภัย เช่น การป้องกันการค้นหา (Search protection) พร้อมทั้งฟังก์ชันในการค้นหาตำแหน่งของโทรศัพท์หากโทรศัพท์นั้นหาย หรือสามารถส่งลบข้อมูลบนมือถือจากระยะไกลได้ และฟังก์ชันในการกู้คืนข้อมูลได้ด้วย ไม่วางโทรศัพท์ของคุณห่างตัว ก่อนที่จะทำการป้องกันการโจมตีจากมัลแวร์ที่ซับซ้อนยากต่อการเข้าใจ เริ่มจากการป้องกันที่ง่ายๆที่หลายๆคนมักลืมหรือมองข้ามไป […]

การรักษาความปลอดภัยในระบบ Android

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์

แอนดรอยด์ (Android) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาบนมาตรฐานโอเพ่นซอร์สเพื่อใช้งานกับระบบมือถือแบบต่างๆ นำทีมพัฒนาโดยกูเกิล แอนดรอยด์พัฒนาบนพื้นฐานของระบบปฏิบัติการลินนุกส์ ซึ่งข้อดีคือไม่มีค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งานจึงทำให้ระบบมือถือแอนดรอยด์ถูกกว่า อย่างไรก็ตามโดยพื้นฐานแล้วแอนดรอยด์เป็นระบบเปิดซึ่งหมายถึงว่าใครก็สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ หรือสามารถพัฒนาแอพพลิเคชันมาใช้งานบนระบบแอนดรอยด์ได้ง่ายเช่นกัน จึงเป็นจุดอ่อนหนึ่งที่แฮกเกอร์อาจจะใช้ประโยชน์จากจุดนี้ได้เช่นกัน ถึงแม้ทีมพัฒนาระบบแอนดรอยด์จะให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแต่ก็มีจุดอ่อนโดยธรรมชาติที่ยากต่อการป้องกัน แอพพลิเคชันที่รันบนแอนดรอยด์สามารถใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การออกแบบแอนดรอยด์ได้มีการผนวกรวมระบบการรักษาความปลอดภัยเข้าไปในระบบเพื่อปกป้องข้อมูล แอพพลิเคชัน ตัวอุปกรณ์ เครือข่าย และผู้ใช้เองด้วย การรักษาความปลอดภัยระบบที่เป็นแบบโอเพ่นซอร์สถือว่าเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แน่นนา และมีการออกแบบการป้องกันหลายชั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความอ่อนตัว การรักษาความปลอดภัยบนระบบมือถือแบบแอนดรอยด์ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เนื่องจากมัลแวร์หรือไวรัสมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังโชคดีที่ปัจจุบันก็มีแอพพ์ป้องกันมัลแวร์หรือไวรัสก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัยคุกคามใหม่ด้วยเช่นกัน ความนิยมในการใช้งานสมาร์ทโฟนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือโทรศัพท์มือถือนั้นมีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปด้วยซ้ำ ปัจจุบันผู้ใช้งานมีการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และมีการจัดเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลที่ใช้ในการทำงานจำนวนมากไว้ในโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยบนระบบมือถือจึงสำคัญเหมือนกับการรักษาความปลอดภัยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน FCC (Federal Communications Commission) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารได้ออกประกาศคำแนะนำในการป้องกันและลดความเสี่ยงของภัยคุกคามที่มีต่อระบบมือถือ [FCC] ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อดังต่อไปนี้ ใช้ล็อคหน้าจอ การล็อกหน้าจอก็เป็นการป้องกันขั้นพื้นฐานที่ต้องมีเนื่องจากไม่ว่าคุณจะดูแลโทรศัพท์มือถือดีแค่ไหนก็มีโอกาศที่โทรศัพท์นั้นจะตกไปอยู่ในมือคนอื่นได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่นเด็กเล็กที่อาจจะเล่นซนกับโทรศัพท์ของคุณโดยการกดโน่นกดนี่จะบางครั้งอาจทำกดลบหรือรีเซ็ตเครื่องของคุณ ทำให้ข้อมูลทุกอย่างที่จัดเก็บหายหมดก็เป็นได้ หรือหากโทรศัพท์ของคุณถูกขโมยไปก็เป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่งที่ไม่ให้ขโมยนั้นเข้าถึงเครื่องและข้อมูลที่อยู่ข้างในซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าตัวเครื่องโทรศัพท์ด้วยซ้ำ ไม่ควรปรับแก้ไขค่าเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ไม่ควรปรับแก้ไขค่าเพื่อให้การใช้งานมือถือสะดวกมากยิ่งขึ้น การแก้ไขค่าพื้นฐาน การเจลเบรก (Jailbreak) หรือ รูทติ้ง (Rooting) เป็นการหลีกเลี่ยงระบบรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของระบบมือถือ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีได้โดยง่าย สำรองข้อมูลและปกป้องข้อมูล (Backup and […]