การโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ (OS)

Posted on Posted in ความรู้แอนดรอยด์, ความรู้ไอโฟน

มีการค้นพบช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการมือถือเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือ iOS มีการประกาศและเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็จะทำการออกแพทช์ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จะมาติดตั้งในระบบเพื่อปิดช่องโหว่ที่ค้นพบเหล่านั้น โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์จะมีการออกแพทช์มาเป็นประจำ และเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ที่จะต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแพทช์เหล่านี้เป็นประจำ ไม่เช่นนั้นระบบก็จะยังคงมีช่องโหว่และอาจเป็นช่องทางให้แฮกเกอร์หรือมัลแวร์เข้ามาในระบบได้

นักวิจัยความปลอดภัยระบบไอทีของ Zimperium ประกาศข่าวเรื่องการค้นพบช่องโหว่ Stagefright ซึ่งเป็นช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ Android ที่ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เป็นช่องทางในการเจาะเข้าสู่อุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการดังกล่าวด้วยการส่ง MMS ซ่อนมัลแวร์มาล่อผู้ใช้ กระบวนการนี้อาจต้องการหรือไม่ต้องการการกดรับจากผู้ใช้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ตั้งค่าให้แอพใดเป็นแอพที่ทำงานกับ MMS เป็นหลัก หากใช้ Messenger อันเป็นแอพดั้งเดิมของ Android สำหรับเปิด MMS มันจะไม่ทำการยุ่งเกี่ยวใดๆ กับ MMS ที่แฝงมัลแวร์มาตราบใดที่ผู้ใช้ไม่เปิดอ่านข้อความภาพนั้นเอง แต่หากผู้ใช้เลือกให้ Hangouts เป็นแอพหลักสำหรับเปิด MMS แล้ว มันจะทำการโหลดเนื้อหาของ MMS มาให้ผู้ใช้ก่อนแม้ว่าตัวผู้ใช้เองจะยังไม่กดเรียกดู MMS แต่อย่างใด ซึ่งในกรณีหลังก็ถือเป็นการเริ่มกระบวนการทำงานของมัลแวร์ได้ทันที

Google เองรู้ตัวเกี่ยวกับช่องโหว่อันนี้แล้ว แต่การที่จะอุดช่องโหว่นี้ได้ ก็ต้องรอให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android เป็นผู้ปล่อยอัพเดตเฟิร์มแวร์กันเอง โดยจนถึงขณะนี้ Zimperium ยืนยันว่ามีเพียงแค่ Nexus 6 และ Blackphone เท่านั้นที่มีการปิดช่องโหว่นี้เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้ Android ยี่ห้ออื่นก็พึงระวังกันไว้ดีๆ และได้แต่หวังว่าค่ายมือถือ Android แต่ละรายจะรีบปล่อยเฟิร์มแวร์ให้อัพเดตปิดช่องโหว่นี้โดยเร็วที่สุด

Smart Phone ตกเป็นเป้าใหญ่ที่เหล่าบรรดาแฮคเกอร์จ้องโจมตี ซึ่งแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากมายอย่าง Android ของ Google อาจจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากมัลแวร์ และไวรัสต่างๆ แน่นอนว่า มันเป็นไปตามกระแสฮอตของสมาร์ทโฟนที่โมบายมัลแวร์ หรือไวรัสอันตรายต่างๆ จะเติบโตตามไปด้วย เนื่องจากโดยเนื้อแท้ของสมาร์ทโฟนก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถรันโปรแกรมฮัลโหลที่ให้คุณโทรออกรับสายกระจายเมสเสจได้นั่นเอง ดังนั้น การที่แฮคเกอร์จะพัฒนามัลแวร์จากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปทำงานบนสมาร์ทโฟนจึงไม่ใช่เรื่องยากลำบากแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าตกใจมากกว่าการป่วนให้สมาร์ทโฟนมีปัญหาการทำงานก็คือ การล้วงข้อมูลส่วนตัวออนไลน์ ที่อยู่ในเครื่อง พาสเวิร์ด อีเมล์, บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต, Facebook, Twitter, YouTube ฯลฯ ตลอดจนการแอบใช้ฟีเจอร์บางอย่างที่อาจหมายถึงการเสียค่าบริการต่างๆ บนสมาร์ทโฟน โดยที่คุณไม่เคยได้ใช้เลยด้วยซ้ำ

หากใครสักเคนเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้บนสมาร์ทโฟน Android ของคุณได้ โดยเฉพาะมัลแวร์ประเภทสปายแวร์ที่ขยันรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของคุณ เพื่อส่งออกไปให้นายมัน (แฮคเกอร์) หลังจากที่แฮคเกอร์ได้ข้อมูลเหล่านี้ไปแล้ว พวกเขาสามารถใช้อีเมล์ของคุณ เพื่อทำการต่างๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวได้ หรือแม้แต่ลบอีเมล์ทั้งหมดใน Inbox ตลอดจนแอบอ่านอีเมล์ทั้งหมด รวมถึงแอบลบข้อมูลบนการ์ดหน่วยความจำ SD ก่อนที่จะแช่แข็งไม่ให้ Android Phone ของคุณทำงาได้ (brick your phone) จากสถิติปี 2011 มีรายงานผู้ใช้กว่า 250,000 ราย ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์บน Android เล่ามาซะยืดยาว ยังไม่ได้เข้าเรื่องสักที เพื่อความปลอดภัยของคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ที่น่ารักทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ทีใช้สมาร์ทโฟน Androdi ทิปนี้จะแนะนำให้สมาร์ทโฟนของคุณปลอดภัยจากมัลแวร์ สปายแวร์ และภัยคุกคามอื่นๆ บนออนไลน์ได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ช่วยให้คุณปลอดภัยทีสุด รวมถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ซึ่งผู้ใช้สมาร์ทโฟน Android ควรทราบเป็นอย่างยิ่ง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *