เคล็ดลับ เซฟเน็ตบน Android ที่คุณเองก็ทำได้!!

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์

หมดกังวลกับการใช้ดาต้าที่แสนจะจำกัด เพียงทำตาม 5 เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์   1.ลดปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ ด้วยการเปิดโหมด Chrome Data Saver Mode ตั้งแต่การบีบอัดหน้าเว็บเพจให้มีขนาดเล็กลงไปจนถึงการย้ายรูปภาพต่างๆ ที่มักทำให้หน้าเว็บโหลดช้า ช่วยประหยัดได้สูงถึง 70% 2. ดูวิดีโอต่างๆ ด้วย YouTube แบบออฟไลน์ ซึ่งคุณจะชมวิดีโอบ่อยแค่ไหนก็ได้เท่าที่ต้องการโดยไม่เปลืองค่าเน็ต และไม่ต้องเสียเวลารอวิดีโอโหลดข้อมูลในแต่ล่ะครั้งด้วย 3. ใช้ Google Maps โดยไม่ต้องเชื่อมต่อข้อมูลใดๆ เพียงดาวน์โหลดแผนที่และเชื่อมต่อฟีเจอร์แผนที่คล้ายระบบนำทางแบบ turn-by-turn ก็สามารถใช้งานแผนที่ได้โดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตด้วย Google Maps Offline 4. หาและลบแอปพลิเคชั่นที่ใช้ข้อมูลเยอะเกินความจำเป็นบนเครื่อง ไปที่ setting > และเลือก Data usage บนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ ซึ่งคุณอาจแปลกใจกับการใช้ดาต้าของแอปที่แทบไม่เคยเเตะบางตัวที่กำลังโหลดข้อมูลมหาศาลอยู่ตอนนั้น 5. ปิดระบบการอัพเดตแอปแบบอัตโนมัติบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์โดยเปิด Google Play และแตะที่ไอคอน 3 เส้นแนวนอนบนหน้าจอด้านบนซ้ายมือ จากนั้นไปที่ Setting และกดเลือก Auto-update apps และเลือก Do not auto-update apps หรือ Auto-update apps […]

วิธีรับมือกับ Ransomware

Posted on Leave a commentPosted in รายงานภัยไซเบอร์

Ransomware ถือเป็นอันตรายที่สร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในปัจจุบัน โดยการเข้ารหัสและเปลี่ยนชื่อไฟล์ใหม่ พร้อมกับขึ้นหน้าจอให้ผู้ใช้ซื้อคีย์แก้รหัสในราคาแบบขูดรีด ภาพตัวอย่างเมื่อผู้ใช้งานเกิด Ransomware จากการศึกษาของ SophosLabs ที่ผ่านมาพบแนวโน้มของอาชญากรไซเบอร์ที่เติบโตขึ้น และพุ่งเป้าไปยังบางประเทศ โดยออกแบบแรนซั่มแวร์และการโจมตีทางไซเบอร์อื่นๆ ให้เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มการแพร่กระจายของแรนซั่มแวร์ที่มีสายพันธุ์แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ นั่นคือ อันตรายทางไซเบอร์ดังกล่าวสามารถปรับแต่งภาษา, การสวมแบรนด์สินค้า, ใช้โลโก้, หรือแม้กระทั่งวิธีการชำระเงินที่เข้ากับท้องถิ่น เพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการโจมตีมากที่สุด เทคนิคล่าสุดที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ แฮ็กเกอร์ได้หันมาใช้ JavaScript ในการกระจายมัลแวร์ผ่านเว็บ ซึ่ง JavaScript สามารถแนบไปกับเว็บไซต์ต่างๆ ได้ง่ายในฐานะที่เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน เว็บบราวเซอร์ต่างก็มีฟีเจอร์ที่รันสคริปต์จาวาเพื่อสนับสนุนการแสดงผลด้านอินเทอร์เฟซรวมทั้งเว็บไซต์แบบไดนามิก โดยเฉพาะการใช้มาตรฐาน Web 2.0 ทำให้เดี๋ยวนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะท่องเว็บโดยไม่ใช้ JavaScript ซึ่งแน่นอนว่ามัลแวร์ได้ฉวยโอกาสจากช่องโหว่นี้ อาชญากรไซเบอร์จะเจาะกลุ่มเว็บไซต์ยอดนิยม ทราฟิกสูง และดูน่าเชื่อถือ เพื่อรีไดเร็กต์ผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์อันตรายโดยที่ไม่ทันรู้ตัว นี่คือจุดเริ่มต้นของการแพร่กระจายตัวเอง ซึ่งนำไปสู่การเจาะเข้าระบบเมื่อผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์อันตรายเหล่านั้น มีมัลแวร์สายพันธ์ที่ใช้จาวาสคริปต์ตัวล่าสุดที่รู้จักในชื่อ “RAA” ซึ่งเป็นแรนซั่มแวร์ที่เขียนโดยใช้จาวาสคริปต์ทั้งหมด นั่นคือ ไม่จำเป็นต้องเขียนให้จาวาสคริปต์โหลดมัลแวร์เข้ามาอีกทีหนึ่ง เพราะตัวจาวาสคริปต์เองสามารถเป็นแรนซั่มแวร์ได้ด้วยแล้วตอนนี้ แรนซั่มแวร์ RAA นี้ พบการกระจายตัวผ่านทางไฟล์แนบของอีเมล์ที่แฝงตัวในรูปไฟล์เอกสารเวิร์ดชื่อ Invoice.txt.js ซึ่งแสดงชื่อไฟล์ให้เห็นแค่ “Invoice.txt” บนแพลตฟอร์มวินโดวส์ส่วนใหญ่ แค่เพียงเปิดไฟล์ก็ทำให้กระบวนการปั่นล็อกไฟล์บนเครื่องเหยื่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว […]