Check ก่อน Share…ไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย

Posted on Posted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้โซเชียลมีเดีย

 

“โซเชียลมีเดีย” แทบจะกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว เวลาคิดจะทำอะไร ก็จะมีการโพสต์แชร์ความรู้สึก อัพภาพถ่าย เรื่องราวต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่รู้หรือเปล่าว่า การโพสต์ทุกสิ่งทุกอย่างบางครั้งอาจจะส่งผลร้ายแรงต่อผู้โพสต์อย่างคาดไม่ถึง

เคยคิดหรือไม่ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นจริงหรือไม่ ? เคยคิดหรือไม่ว่า จะมีใครได้รับผลกระทบจากข้อมูลเท็จบ้าง ? เคยคิดหรือไม่ว่า เรื่องที่ดูขำ ๆ ของเรา ในอีกมุมหนึ่งคือความเป็นความตายที่ไม่น่าขำ ?   หลายเหตุการณ์ในสังคม หากคิดให้ดีแล้ว ถ้าเรามีสติมากขึ้นในการรับฟังข่าวสาร เชื่อเถอะว่า มันลดผลกระทบในวงกว้างได้มาก แค่ในคลิกเดียว !
จากประเด็นดังกล่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) ICT Law Center ร่วมกับ ThaiCERTจึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและพูดคุยหัวในข้อ Check ก่อน Share: ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 ณ ห้อง Open Forum ชั้น 21 ETDA

maxresdefault

ผู้อำนวยการ ETDA  สุรางคณา วายุภาพ กล่าวว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์บนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลลักษณะ “ข่าวลือ ข่าวกระแส” หากผิดพลาดไปจะส่งผลกระทบเสียหายในวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวลือที่อาจสร้างความเกลียดชังให้เพิ่มขึ้น พร้อมย้ำถึงข้อควรระมัดระวังและตระหนัก คือ ให้ตรวจสอบก่อนส่งต่อหรือเช็คข้อมูลก่อนแชร์ หากไม่แน่ใจข้อมูลจากโซเชียล หรือแหล่งที่มา ไม่ควรแชร์หรือส่งต่อในทันที

ICT Law Center, a member of ETDA ร่วมกับ ThaiCERT

ดร.สรณันท์  จิวะสุรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ETDA เสริมว่า สังคมไทยควรเปลี่ยนแนวคิดเป็น เช็คก่อนแชร์ แม้การตรวจสอบข้อมูลหรือภาพจะทำได้ยากกว่าการแชร์ซึ่งทำง่ายกว่า แต่เราสามารถใช้ search engine ทุกเจ้า ตรวจสอบความเหมือนของภาพนั้น ๆ ได้ ว่าเคยได้รับการโพสต์หรือมีแหล่งที่อยู่อื่น ๆ มีวันและเวลาบอก ดังนั้น ต่างชาติจึงมีวลี “Stop Think Connect” แต่ไทยเรา “Stop Think Share” ซึ่งควรจะมีเช็คหรือการตรวจสอบก่อนด้วย เพื่อลด viral message หรือการส่งต่อข้อความที่ผิดเพี้ยน

ICT Law Center, a member of ETDA ร่วมกับ ThaiCERT

ขณะเดียวกันผู้ที่โพสต์ แชร์ หรือไลค์ข้อความ ล้วนมีความผิดด้วยกันทั้งหมด สอดคล้องกับคำอธิบายของ พงศกร มาตระกูล กก.ผจก. ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและหัวหน้าทีมทนายความ บจ.สแตรนด์ แอนด์ เกรท จอร์จ อินเตอร์เนชั่นแนล กรณีแชร์ข้อความอันเป็นเท็จในโซเชียลแต่ได้ลบแล้วจะผิดไหม? ยืนยันว่า “ผิด” เพราะความผิดสำเร็จแล้ว เป็นความผิดตาม มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นคดีอาญา ยอมความไม่ได้ ส่วนการตัดต่อภาพเข้าข่ายผิดมาตรา 16 แต่ยอมความได้ ยกตัวอย่าง การแชร์ข้อมูลผิดแล้วลบ เหมือนเราเอานาฬิกาเพื่อนไปซ่อนเพื่อจะแกล้งเฉย ๆ แต่เพื่อนไปแจ้งความว่าของหาย แม้เราจะเอามาคืนแล้วบอกว่าไม่ได้ขโมย ก็ถือว่าผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จึงต้องพึงระวังในการส่งต่อข้อมูลในโซเชียล และฝากสื่อมวลชนให้ระมัดระวังการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับบุคคลในคดีความต่าง ๆ เพราะหากคดียังไม่ถึงที่สุดก็ยังถือว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมกับบุคคลดังกล่าว

 “9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อโซเชียลมีเดีย”

1.บัตรประชาชน
บัตรประชาชนจะมีเลข ID หรือ เลข 13 หลักประจำตัวประชาชน นอกจากนี้ ยังมีชื่อ, นามสกุล, วันเกิด และข้อมูลส่วนตัวต่างๆ โดยส่วนนี้สามารถเอาไปทำอะไรได้หลายอย่าง อาทิ แอบนำภาพบัตรประชาชนที่เราโพสต์ไปสมัครบัตรเครดิต หรือ นำไปซื้อโทรศัพท์ ซึ่งเมื่อมีการโทรออกไม่ว่าจะในประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ ก็จะมีใบเสร็จออกมาด้วยชื่อเรา นั่นคือ เราต้องเป็นคนจ่าย แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ก็ตาม

2.ภาพถ่ายเด็ก หรือ บุตรหลาน
การโพสต์ภาพบุตรหลานลงโซเชียลมีเดีย หากว่ามีคนจดจำรูปร่างและลักษณะของเด็กได้ อาจจะเกิดเหตุการลักพาตัว โดยหากจะโพสต์ก็พยายามอย่าให้จดจำรูปร่างและลักษณะของเด็กได้

3.ตั๋วเครื่องบิน
คนส่วนใหญ่จะชอบโพสต์ภาพตั๋วเครื่องบิน เมื่อมีการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ แต่หลายคนลืมกันว่า บนตั๋วเครื่องบินจะมีบาร์โคด โดยปัจจุบันโทรศัพท์หลายรุ่นสามารถแสกนบาร์โคดได้ ซึ่งหลังจากแสกนก็จะทราบว่า เราใช้บัตรเครดิตใดซื้อ รวมถึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจเข้าไปยกเลิกตั๋วเครื่องบินของเราได้ เพราะฉะนั้นหากอยากจะโพสต์ ควรหลีกเลี่ยงตรงส่วนบาร์โคด

4.ข้อมูลการเช็กอินสถานที่ต่างๆ
เวลาที่เราออกไปเที่ยวข้างนอก ก็มักจะมีการแชร์โลเคชันและเช็กอินสถานที่นั้นๆ เช่น ออกไปเที่ยวข้างนอกก็กดเช็กอิน คนที่ติดตามเราบนโซเชียลมีเดียก็จะทราบทันทีว่า เราไม่ได้อยู่บ้าน ซึ่งจากสิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการบุกเข้าบ้านเพื่อลักทรัพย์ โดยหากเป็นไปได้ก็พยายามหลีกเลี่ยงการเช็กอินทุกสถานที่ หรือ ทุกจุดที่เดินทางไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญ คือ เมื่ออยู่ที่บ้านก็ไม่ควรกดเช็กอิน เพราะอาจทำให้คนอื่นทราบจุดพิกัดของบ้านเราได้

5.การโพสต์ข้อความด่าทอและข้อมูลขององค์กร
ปัจจุบันมีการดำเนินคดีเกี่ยวกับกรณีนี้มากขึ้น เพราะหากเราโพสต์ข้อความด่าทอองค์กรลงบนโซเชียลมีเดีย และองค์กรทราบเรื่อง อาจส่งผลกระทบจนถึงขั้นต้องออกจากงานได้ เนื่องจากการกระทำลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทำให้บริษัทเสียหาย และนายจ้างสามารถไล่ออกโดยไม่ต้องจ่ายชดเชยได้ เพราะเป็นความเสียหายร้ายแรง

6.ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
อาทิ รายละเอียดความชอบต่างๆ โดยข้อมูลที่หลุดออกมาบ่อยๆ บนโซเชียลมีเดีย อาจทำให้คนทราบพฤติกรรมของเรา และอาจจะส่งผลเสียในหลายๆ ด้านต่อเราได้

7.การโพสต์ต่อว่าโจมตีผู้อื่น
การโพสต์ต่อว่าผู้อื่น ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โดยอาจจะมีการแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สำหรับกรณีการคุยในไลน์แชทส่วนตัว หากบุคคลที่ 3 มาเห็นทีหลัง ก็สามารถฟ้องดำเนินคดีได้ เนื่องจากการหมิ่นประมาท เป็นการหมิ่นประมาทบุคคลที่ 3 ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญา

8.การโพสต์อารมณ์ดรามา
การแชร์ข้อความดรามาบางอย่าง อาจทำให้คนที่ติดตามบนโซเชียลมีเดียรู้สึกอึดอัด หรือ ไม่สบายใจ นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งก็เลือกการรับคนจากการโพสต์ข้อความลงบนโซเชียลมีเดีย เพื่อดูวุฒิภาวะและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งต้องมีการระมัดระวังมากขึ้น

9.การโพสต์ภาพวาบหวิวอนาจาร
ควรระมัดระวังการโพสต์ภาพลักษณะนี้ เพราะอาจจะเกิดกรณีนำภาพส่วนตัวของเราไปใช้ในการตัดต่อภาพวาบหวิว หรือ แอบอ้าง นอกจากนี้ การโพสต์ภาพเซ็กซี่มากเกินไป ก็อาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

ที่มา : 1) https://www.etda.or.th/content/check-before-share-not-risking-illegal.html

2) http://www.springnews.co.th/lifestyle/250511

3) http://www.jeeb.me/334/คิดก่อนเชื่อ-เช็คก่อนแชร์-ตั้งสติก่อนโซเชียล

4) https://twitter.com/hashtag/ชัวร์ก่อนแชร์?src=hash

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *