การโจมตีผ่าน Bluetooth

Posted on Posted in ความรู้ทั่วไป

ปัจจุบันเทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีการใช้งานในบริเวณแคบๆ เทคโนโลยีนี้ทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง สมาร์ทวอทช์ แว่นตาอัจฉริยะ เป็นต้น อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีใหม่มักจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยเฉพาะเทคโนโลยีไร้สาย โดยอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะมีการรับส่งข้อมูลกันกับสมาร์ทโฟน แฮกเกอร์อาจใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนแล้วเจาะเข้าระบบเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบได้ ภัยคุกคามหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายจากเทคโนโลยี Bluetooth ที่สำคัญดังต่อไปนี้

Bluejacking หมายถึงการส่ง Message ขยะไปยังอุปกรณ์ที่เปิดการเชื่อมต่อบลูทูธ โดยอาจจะมีวัตถุประสงค์ในการโฆษณาหรือก่อกวนเท่านั้น อย่างไรก็ดี Bluejacking อาจจะเป็นช่องทางในการส่งไวรัสหรือโทรจัน เหมือนไวรัสที่ใช้ช่องทางอีเมล์ในการแพร่กระจาย ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเปิดข้อความหรือรูปภาพที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งที่คุณไม่รู้จัก

Bluesnarfing คือเทคนิคที่แฮกเกอร์ใช้ในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลของอุปกรณ์ที่เปิดการเชื่อมต่อผ่านบลูทูธ ซึ่งอาจจะหมายถึง ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ รูปภาพ รวมถึง ปฏิทินนัดหมายของเครื่องเป้าหมายแต่จะไม่สามารถโทรศัพท์หรือส่งข้อความได้ซึ่ง ต่างจาก bluebugging อย่างไรก็ดีอุปกรณ์ที่ขาดระบบป้องกันมักจะเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าๆเท่านั้น

Bluebugging อันตรายกว่า Bluesnarfing เนื่องจากแฮกเกอร์สามารถเข้าควบคุมเครื่องได้โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัวซึ่งรวมถึงความสามารถในการส่งข้อความ Text message การโทรศัพท์ และการต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องที่ถูกโจมตี อย่างไรก็ดีหากไม่มีการใช้อุปกรณ์พิเศษแฮกเกอร์จำเป็นต้องอยู่ในระยะ 10 เมตรเพื่อทำการควบคุมอุปกรณ์ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการอัฟเกรดซอฟแวร์ของอุปกรณ์

Car Whisperer มีลักษณะใกล้เคียงกับ Bluesnarfing โดยจะเกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถยนต์โดยแฮกเกอร์สามาถที่จะส่งข้อความเสียง ไปยังรถที่ถูกเชื่อมต่อ รวมถึงการบันทึกการสนทนาได้ อย่างไรก็ดีรถเป้าหมายต้องอยู่ในระยะ 10 เมตรเท่านั้น รถยนตร์ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหากับ car whisperer ซึ่งสามารถเช็คได้โดยตรวจสอบชุดอุปกรณ์ติดตั้งในรถยนต์จะต้องอยู่ใน pairing mode ชุดอุปกรณ์ติดตั้งในรถยนต์ต้องมี PIN คงที่ โดยจะไม่เปลี่ยนเมื่อมีโทรศัพท์เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ อย่างไรก็ดีควรติดต่อหรือขอข้อมูลจากผู้ผลิตเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง

วิธีการในการแฮกก์ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเมื่อผู้ผลิตรู้ถึงช่องโหว่ก็มักจะหาทางแก้ไขหรือปิดช่องโหว่นั้นอย่างไรก็ตามปัจจุบันเทคนิคที่ถูกใช้มากที่สุดคือ car whisperer, bluejacking, bluesnarfing, และ bluebugging ยังมีวิธีการอื่นที่มีความอันตรายเช่นกันแต่พบไม่บ่อย เช่น เลข PIN ที่ใช้ในการเชื่อมต่อก็เหมือนกับรหัส ATM ที่คุณใช้กับธนาคารคุณควรเก็บข้อมูลเป็นความลับและพยายามเปลี่ยนตัวเลขอยู่เสมอโดยทั่วไปหากแฮกเกอร์ไม่ได้เลข PIN ก็จะไม่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของคุณได้

การเชื่อมต่ออุปกรณ์ในที่สาธารณะมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะแฮกเกอร์จะสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อรันเครื่องมือในการโจมตีได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว อย่างไรก็ดีการใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพย่อมตกเป็นที่สังเกตุได้ง่ายและแฮกเกอร์ ก็มักจะเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบลูทูธในระดับที่ดี

การป้องกันตนเองจากการถูกโจมตีผ่านบลูทูธสามารถทำได้ไม่ยาก เช่น ควรเช็คอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่คุณใช้จากผู้ผลิตว่าสามารถป้องกันการโจมตีใดบ้างซึ่งหากไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมดก็ควรติดต่อผู้ผลิตเพื่อขออัฟเกรดอุปกรณ์เพื่อให้สามารถป้องกันการโจมตีนั้นๆได้ และไม่ควรเปิดสัญญาณบลูทูธในอุปกรณ์ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้ขณะที่ไม่มีการเชื่อมต่อการใช้งานกับอุปกรณ์อื่นและไม่ควรเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นจากผู้ใช้ที่คุณไม่รู้จัก รวมถึงการเปิดดูข้อมูลที่ผู้อื่นส่งมาโดยที่คุณไม่รู้จักผู้ส่ง และควรเปลี่ยน PIN ที่ใช้ในการเชื่อมต่อในระยะเวลาที่เหมาะสมและควรเก็บข้อมูลเป็นความลับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *