แฮกเกอร์ l อาชญากรรมไซเบอร์ l โจรไฮเทค ตอนจบ

Posted on Posted in ความรู้ทั่วไป, รายงานภัยไซเบอร์

หลังจากได้กล่าวไปในตอนที่ 2 เกี่ยวกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในประเทศไทยที่เราเรียกกันว่า อาชญากรรมไซเบอร์ บ้างก็มุ่งโจมตีไปที่ความน่าเชื่อถือ บ้างก็เพื่อประโยชน์ของธุรกิจมืด ตลอดจน การได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น ในตอนสุดท้ายจะขอกล่าวถึงพฤติกรรมที่ตำรวจเรียกเค้าเหล่านี้ว่า “โจรไฮเทค”

คมชัดลึกออนไลน์ ได้รายงาน ตำรวจแฉขบวนการโจรเอทีเอ็มเข้ามาดูดข้อมูลตั้งแต่เดือนก.พ.-ม.ค. รวม 3 ครั้ง ก่อนนำข้อมูลที่ได้ทำบัตรปลอมไปกดเงิน ระบุ ใช้เวลา 1 วันหอบเงินไปไปให้นายใหญ่ในมาเลย์ก่อนเอารถเช่ามาคืน ล่าสุดเร่งไล่ล่าผู้ร่วมขบวนการอีกคนที่ยังอยู่ในไทย
ความคืบหน้ากรณีผู้เสียหาย 20 คน เข้าแจ้งความว่าเงินในบัญชีธนาคารได้สูญหายไป ภายหลังใช้บริการเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม ธ.กรุงเทพ ตั้งอยู่บริเวณตลาดอวยชัย 3 หมู่ที่ 4 ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร รวมเป็นเงินมากกว่า 3 ล้านบาท กระทั่งตำรวจได้จับกุมคนร้ายชาวมาเลย์เซียขณะกำลังนำรถยนต์คัก่อเหตุที่เช่า มาไปคืนเจ้าของ ล่าสุดตรวจสอบพบมีการเดินทางเข้าออกประเทศไทยหลายครั้งตั้งแต่ช่วงก.พ.-มี .ค. เพื่อนำเครื่องสกริมเมอร์มาดูดข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม
พ.ต.อ.สุพจน์ บุญชูดวง กล่าวว่า จากการสอบสวนนายเถา เป็ก เฮง อายุ 43 ปี คนร้ายให้การรับสารภาพว่า เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ได้ร่วมมือกับนายโก ชิน เฮง ชาวมาเลย์เซีย นำเครื่องโจรกรรมข้อมูลจากบัตรเอทีเอ็ม หรือ สกริมเมอร์ มาติดที่ช่องเสียบบัตรตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงเทพฯ บริเวณตลาดอวยชัย พร้อมติดตั้งกล้อง CCTV แบบไร้สายขนาดเล็กซ่อนไว้ในกล่องไว้เพื่อดูรหัสของบัตรเอทีเอ็มแต่ละใบ จากนั้นจะเอากระดาษไปสอดใส่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารทหารไทยและกสิกรไทย ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ไม่สามารถให้บริการได้ จะได้มาใช้บริการเพียงตู่เอทีเอ็มของธนาคารกรุงเทพฯเพียงเครื่องเดียว
ทั้งนี้เครื่องสกริมเมอร์ จะมีความกลมกลืนโดยที่ลุกค้าธนาคารไม่ทราบว่ากำลังถูกดูดข้อมูล โดยคนร้ายจะจอดรถอยู่ห่างจากตู้เอทีเอ็มไม่เกิน 200 เมตร เพื่อดูข้อมูลรหัสบัตรเอทีเอ็มแต่ละใบ จากนั้นจะใช้ข้อมูลบัตรจากเครื่องสกริมเมอร์มาทำการปลอมบัตรภายในรถยนต์แล้ว ทำไปกดเงินสดทันที
พ.ต.อ.สุพจน์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบประวัติการเข้าออกประเทศพบว่า คนร้ายได้เข้าประเทศมา 3 ครั้ง ประกอบด้วย วันที่ 6 ก.พ., 20 ก.พ. และวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยเข้ามาเพื่อนำเครื่องสกริมเมอร์มาติดตั้งเพื่อดูดข้อมูลไปไว้ก่อน กระทั่งล่าสุดได้เข้ามาดูดข้อมูลอีกครั้งและเมื่อได้ข้อมูลมากพอจึงได้เดิน ทางไปจ.สุราษฎร์ธานีเพื่อกดเงินสดออกมา ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความแล้ว 16 ราย รวมวงเงิน 2 ล้านกว่าบาท
สำหรับการถอนเงินนั้น หากบัญชีใดมีเงินจำนวนมาก แต่การกดเอทีเอ็มถูกจำกัดวงเงินไว้วันละ 5 หมื่นบาท คนร้ายก็จะทำการโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีที่ได้ข้อมูลมา แล้วถอนเงินออกมาจนหมด จากนั้นจึงเดินทางกลับไปประเทศมาเลย์เซียนำเครื่องสกริมเมอร์และเงินสดไป เก็บไว้ แล้วเดินทางนำรถยนต์กลับไปคืนผู้เช่ากระทั่งถูกตำรวจจับกุม
“มีพยานจำทะเบียนรถของคนร้ายได้ แต่จำได้เพียงเลขทะเบียน 511 ทางตำรวจจึงตรวจสอบข้อมูลจนกระทั่งพบว่าเป็นรถยนต์ของนายสาโรจน์ อยู่ในอ.หาดใหญ่ จึงได้ส่งตำรวจไปเฝ้ากระทั่งคนร้ายนำรถยนต์มาคืนจึงถูกจับตัว แต่เงินของกลางและเครื่องสกริมเมอร์คนร้ายนำไปเก็บไว้ในโรงแรมฝั่งมาเล ย์เซียแล้ว ซึ่งทราบว่ามีนายใหญ่อีกคนหนึ่งเป็นชาวมาเลย์เซียร่วมขบวนการนี้ด้วย ”
พ.ต.อ.สุพจน์ กล่าวอีกว่า คนร้ายถือว่าทำงานอย่างรวดเร็ว เพราะเข้าประเทศมาในวันที่ 6 มี.ค. เพื่อดูดข้อมูลอีกรอบก่อนเดินทางไปกดเอทีเอ็มที่สุราษฎร์ฯโดยเลือกตู้ที่ไม่ มีกล้องวงจรปิด จากนั้นวันที่ 7 มี.ค.ก็นำเงินทั้งหมดไปไว้ในประเทศมาเลเซียแล้ว จากนั้นเช้าวันที่ 8 มี.ค.จึงนำรถที่เช่ามาคืน อย่างไรก็ตามขณะนี้ตำรวจกำลังเร่งติดตามจับกุมนายโก ชิน เฮง ซึ่งทราบว่ายังอยู่ในประเทศไทย ขณะนี้ได้ประสานตรวจคนเข้าเมืองไว้แล้ว

เผยโจรเอทีเอ็มใช้เครื่องแจมมิ่งสวมติดไว้หน้าตู้

1411444887-atm1-o

ตำรวจได้เผยถึงพฤติกรรมของคนร้ายแก๊งนี้ว่า มีวิธีการโจรกรรมข้อมูลของเหยื่อ โดยเริ่มแรกคนร้ายคงใช้วิธีถ่ายภาพตู้เอทีเอ็มเป้าหมายก่อน แล้วกลับไปที่มาเลเซียเพื่อออกแบบฝาครอบที่สอดบัตรของตู้เอทีเอ็ม จากนั้นจึงนำกลับมาแปะทับที่ช่องสอดบัตร แล้วติดตั้งเครื่องมือที่เรียกว่า “แจมมิ่ง” ซึ่งเป็นเครื่องคัดลอกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมติดกล้องแอบถ่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า “กล้องตามด” ไว้ บนผนังด้านบนของตู้เอทีเอ็ม ซึ่งหากไม่สังเกตจะไม่เห็น และเครื่อง “แจมมิ่ง” และกล้อง ตามดดังกล่าวจะมีเครื่องส่งสัญญาณไปยังคอม พิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่คนร้ายใช้อยู่ในรถที่จอดอยู่ห่างจากตู้เอทีเอ็มในรัศมี ไม่เกิน 100 เมตร
หลังจากติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว คนร้ายคงไปนั่งเปิดโน้ตบุ๊กรออยู่ในรถ เมื่อมีเหยื่อนำบัตรมากดเงินได้ 15-20 ราย อุปกรณ์ที่ติดอยู่ในตู้เอทีเอ็มจะส่งสัญญาณภาพและรหัสที่เหยื่อกดไปยัง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของคนร้าย จากนั้นคนร้ายก็จะตรวจสอบเงินในบัญชีของเหยื่อแต่ละคน หากพบว่ารายใดมีเงินมาก ก็จะคัดลอกข้อมูลไปใส่ในแถบแม่เหล็กในบัตรเอทีเอ็มปลอมที่คงมีเครื่องทำปลอม อยู่ในรถนั่นเอง เมื่อเหยื่อออกจากตู้ไปแล้ว คนร้ายก็จะนำบัตรที่ปลอมขึ้นมาไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มตู้อื่นแล้วโอนเงินไป เข้าบัญชีของตนเอง
สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการสอบสวนเครือข่ายปลอมแปลงบัตรเครดิตของดีเอสไอ พบว่ายังมีเครือข่ายที่ยังไม่ถูกจับกุม 10-20 กลุ่ม โดยมีชาวยุโรปกลาง ร่วมกับชาวมาเลเซียและคนไทย เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเอที เอ็ม ซึ่งอุปกรณ์ตัวใหม่ล่าสุดสั่งซื้อจากประเทศสเปน จะมีลักษณะใกล้เคียงกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งตามตู้กดเงินของธนาคารทั่วโลก โดยกลุ่มคนร้ายจะเลือกติดตั้งอุปกรณ์กับตู้กดเงินที่ตั้งอยู่ในสถานที่พลุก พล่าน อาทิ หน้าเซเว่นอีเลฟเว่น ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จึงอยากฝากเตือนไปยังประชาชนหากไม่มั่นใจในการใช้บริการตู้กดเงินด่วน ขอให้เลือกใช้บริการจากตู้ที่ติดตั้งบริเวณหน้าธนาคารซึ่งปลอดภัยมากกว่า

เลขาธิการ สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ กรณีที่ลูกค้าธนาคารถูกโจรกรรมข้อมูลจากเครื่องเอทีเอ็ม และโจรกรรมเงินจากบัญชีของลูกค้าออกไป ซึ่งในส่วนนี้หากไม่ได้เป็นความผิดของลูกค้า และเป็นเหตุจากธนาคารละเลย ธนาคารนั้น ๆ คงต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ลูกค้า แต่ต้องมาดูรายละเอียดกันเสียก่อน พร้อมกันนั้นธนาคารสมาชิกได้ติดตั้งเครื่องแอนตี้สกิมมิง เพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก ซึ่งในส่วนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนวิธีป้องกันเหตุในเบื้องต้น ลูกค้าผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม ไปกดเงินยังเครื่องเอทีเอ็มนั้น เวลากดรหัสต้องใช้มือบังเพื่อป้องกันการแอบดู หรือผู้เป็นเจ้าของบัตรควรเปลี่ยนรหัสเอทีเอ็มบ่อย ๆ และไม่บอกรหัสแก่ผู้อื่นโดยเด็ดขาด

ผอ.ฝ่ายสนับสนุนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และเครือข่ายการบริการ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะประธานชมรมธุรกิจบริการเอทีเอ็ม กล่าวว่า กรณีที่มิจฉาชีพติดเครื่องสกิมมิงที่เครื่องเอทีเอ็ม สังเกตด้วยตาเปล่าทำได้ยาก หากไม่แน่ใจให้โยก หรือดึงช่องเสียบบัตร เอทีเอ็ม ถ้าคนร้ายนำมาติด จะหลุดออกมา ถ้าเป็นช่องเสียบบัตรฯของเครื่องจริงจะติดแน่นไม่โยกคลอน ขณะนี้ทุกแบงก์เร่งติดตั้งเครื่องแอนตี้สกิมมิงที่เครื่องเอทีเอ็ม โดยเครื่องเอทีเอ็มรวม ทั้งหมดทั่วประเทศมีประมาณ 30,000 เครื่อง

โจรไฮเทคดูดรหัสเอทีเอ็ม

ก๊งไฮเทคใช้เครื่องมือสุดทันสมัย ดูดรหัสบัตรเอทีเอ็มลูกค้าไปถอนเงินหมดบัญชี ระบุสาขาแบงก์ภาคใต้เกือบตกเป็นเหยื่อมาแล้วแหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่าบริษัท มาสเตอร์การ์ดฯ ส่งหนังสือเตือนธนาคารพาณิชย์ให้ระวังภัยจากแก๊งมิจฉชีพที่ใช้เครื่องมือสุด ไฮเทคขโมยข้อมูบจากบัตรเอทีเอ็มในเวลาชั่วพริบตา

skimmer005
วิธีไฮเทคที่ว่า จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบโดย
รูปแบบที่ 1 จะมีการแอบติดตั้งกล้องขนาดจิ๋วซ่อนไว้ในจุดที่คาดไม่ถึง อาทิ ตรงกล่องใส่เอกสารบริการต่างๆ ของธนาคาร เมื่อลูกค้าเข้าไปกดบัตรเอทีเอ็ม กล้องดังกล่าวจะทำการสแกนหรืออ่านค่าทั้งหมดที่อยู่ในบัตรเอทีเอ็มไปเก็บไว้
รูปแบบที่ 2 จะมีการสร้างเครื่องอ่านรหัสบัตรเอทีเอ็ม และเอาไปสวมไว้ที่ช่องเสียบบัตรโดยจะมีการตบแต่งหน้าตาให้เหมือนกับเป็นส่วน หนึ่งของที่เสียบบัตร เมื่อลูกค้าเอาบัตรมาถอนเงิน เครื่องนี้จะอ่านค่าทั้งหมดอีก เช่นกัน
หลังจากขบวนการนี้ได้รหัสแล้ว ก็จะเอารหัสทั้งหมดไปถ่ายโอนทำเป็นบัตรปลอมแล้วจะนำไปถอนเงินทั้งหมดที่มี อยู่ในบัญชีเงินฝากได้ทันที “ในออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง ฮอลแลนด์ และมาเลเซีย เกิดการระบาดแล้ว และไทย”

12914799553_817b9dd658

คณะกรรมการ เอทีเอ็มพูล ได้มีการหารือกันในเรื่องนี้ และยอมรับเป็นปัญหาที่น่ากลัวมาก เนื่องจากไม่สามารถที่จะเช็กได้ว่า บัตรเอทีเอ็ม ที่สอดไปถอนเงินเป็นของจริงหรือของปลอม ปัจจุบันบัตรเอทีเอ็มเป็นเรื่องใกล้ตัวของประชาชน โดยมีผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มหลายสิบล้านใบ “ได้มีการขอความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามสอดส่องดูแล ความผิดปกติของตู้เอทีเอ็มอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งแนะนำให้มีการติดตั้ง กล้องวงจรปิดตามตู้เอทีเอ็มด้วย เพราะได้มีการพบในตู้เอทีเอ็มของธนาคารแห่งหนึ่งในสาขาภาคใต้ มีความพยายามติดตั้งเครื่องดูดรหัส แต่กล้องวงจรจับภาพไว้ได้ก่อน เครื่องนี้ราคาไม่กี่พันบาท ซื้อมาจากมาเลเซีย” นายปราโมทย์ ไชยอัมพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย และกรรมการในเอทีเอ็มพูลกล่าวยอมรับว่า สมาคมธนาคารไทยมีการเรียกสมาชิกธนาคารในระบบเอทีเอ็มพูลมาประชุม เพื่อหาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหานี้แล้ว สำหรับแนวทางการป้องกันของธนาคารกสิกรไทย ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่นำเงินสดไปใส่ในตู้เอทีเอ็มให้ทำความสะอาดตู้ และดูแลสิ่งผิดปกติ และสั่งห้ามนำกล่องหรือป้ายโฆษณาใดไปติดในบริเวณตู้เอทีเอ็มโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งเตือนลูกค้าให้ระมัดระวัง

— ตระหนัก แต่ไม่ใช้ตื่นกลัว —

เป็นยังไงบ้างครับกับ 3 ตอน แต่รสชาติใกล้เคียงกัน ภัยไซเบอร์ที่ทุกวันนี้ใกล้ตัวเราสุดๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราเป็นอันทำอะไรเลย เราก็พยายามติดตามข่าวสาร ติดตามวิธีข้อแนะนำจากผู้รู้ และเวปของเราก็จะคอยอัพเดทอะไรแนวๆ นี้ให้อยู่เสมอๆ ครับ

ที่มา : 1.คมชัดลึกออนไลน์

2. http://www.dungd.com

3. http://www.icygang.com

4. ภาพประกอบจาก Internet

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *