Facebook บน Android ทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่และประสิทธิภาพลดลงกว่าเดิม ???

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้โซเชียลมีเดีย

Facebook พึ่งจะโดนกล่าวหาไปหมาดๆ เมื่อไม่นานมานี้ครับว่าแอปพลิเคชันของทาง Facebook สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เกือบจะทุกแอปพลิเคชันนั้น(แอปอย่าง Facebook เองหรือ Messenger เป็นต้น) ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อผู้ใช้งานและสูบแบตเตอรี่เป็นว่าเล่นด้วยอีกต่างหาก โดยในครั้งแรกของการพบเจอนี้นั้นก็คือเมื่อครั้งที่ iOS 9 ได้มีการแสดงการใช้งานอัตราการใช้งานแบตเตอรี่ของแอปพลิชันต่างๆ แล้วผู้ใช้หลายๆ คนได้ค้นพบครับว่า Facebook นั้นเป็นแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานแบตเตอรี่ของพวกเขาเป็นอย่างมากแม้ว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะไม่ได้ทำการเปิดแอปพลิเคชัน Facebook ขึ้นมาครับ หลังจากที่ผู้ใช้พบเจอเรื่องดังกล่าวไปแล้วนั้น ไม่นานานนักชุมชนผู้ใช้ Android ก็เกิดความกังวลใจเรื่องเดียวกันนี้ขึ้นมาแถมเกิดขึ้นแบบกว้างขวางอีกด้วยครับ โดยผู้ที่เริ่มต้นกังวลเรื่องดังกล่าวแล้วตั้งกระทู้ขึ้นมาใน Reddit ก็คือ pbrandes_eth ซึ่งได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสมาร์ทโฟน LG G4 เล็กน้อยด้วยการลบแอปพลิเคชัน Facebook และ Messenger ออกแล้วทพการทดสอบเครื่องของเขาเพื่อดูสิ่งที่เปลี่ยนไป โดยวิธีการที่ pbrandes_eth ทำการทดสอบนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ รัน Benchmark ที่มีชื่อว่า DiscoMark(หาโหลดได้จาก Google Play Store) แล้วเลือกไปที่รันทั้งหมด 15 รอบ กำหนดให้มีการ reboot ทุกครั้งที่มีการรัน 1 รอบเสร็จเพื่อความเป็นธรรม ทดสอบรันแอปพลิเคชันทั้งหมดดังต่อไปนี้ : 20 Minuten, Kindle, […]

ชีวิตสมาร์ท กับการใช้งานสมาร์ทโฟนและโซเชียล (ระวังตัวจากการถูกกวนใจ)

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้โซเชียลมีเดีย

การเชื่อมโยงกันในโลกโซเชียลมีทั้งการพบปะและการจากลา แต่ในบางกรณีหลายคนต้องพบกับคนมากหน้าหลายตาและนิสัยที่รับได้และไม่ได้ ทำให้บางครั้งการเลือกตัดสัมพันธ์กับใครบางคน กลายเป็นเรื่องบาดหมาง จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องของการละเมิดความเป็นส่วนตัวกันได้ หรือบางครั้งก็รวมไปถึงการทำธุรกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ ที่มีเหล่ามิจฉาชีพและผู้ไม่หวังดี พยายามจะขโมยหรือลวงเอาข้อมูลสำคัญในธุรกรรมการเงินของคุณไป ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงข้อมูลผ่านทางโซเชียลหรือทางสมาร์ทโฟนก็ตาม แต่ก็มีวิธีการในการป้องกันและสร้างความปลอดภัยจากภัยคุกคามเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบป้องกันจากการดูแลตัวเอง ใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงการตั้งค่าบางอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การบล็อคหรือปิดกั้นการเชื่อมต่อกับบางคนบนอุปกรณ์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นต้น วิธีการบล็อคผู้คุกคามบางคนที่กวนใจบนสมาร์ทโฟน (Android) 1.เปิดโทรศัพท์ แล้วเข้าไปที่แอพ Phone 2.จากหน้า Call log ให้เลือกหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการบล็อค 3.แตะเลือกที่สัญลักษณ์ … จากเมนูทางมุมบนขวาของหน้าจอ 4.จากนั้้นเลือก “Add to Reject List” วิธีการบล็อคผู้คุกคามบน Facebook Facebook มีความสามารถในการป้องกันให้คนที่ไม่ต้องการให้เห็นสิ่งที่คุณโพสต์หรือค้นหารายละเอียดได้ แต่จะไม่สามารถยับยั้งการใช้แอคเคาต์ของเพื่อนคุณ mutual friend’s ที่เข้ามาดูได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้การบล็อคแบบเดิมๆ เพราะมันไม่ได้ช่วยได้มากนัก ตราบใดที่คุณยังต้องคุยกับเพื่อนของเพื่อนคุณอยู่ แต่เลือกใช้วิธีอื่นได้ เช่น 1.คลิกที่ไอคอนมุมบนขวาของหน้าเพจ Facebook 2.เลือก “How do I stop someone […]

รวมมิตร อินสตาแกรม แวะมาอ่านเสริมภูมิต้านทาน ตอนที่ 2

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้โซเชียลมีเดีย

ผู้ใช้ Instagram ระวัง โดนแฮก !! พร้อมวิธีป้องกันและแก้ไขเบื้องต้น ช่วงนี้ใครที่เล่นอินสตาแกรม (Instagram) ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะล่าสุดมีผู้ใช้งานอินสตาแกรมบางส่วน พบว่าบัญชีอินสตาแกรมของตัวเองไม่สามารถเข้าไปใช้งานและโพสต์ภาพต่าง ๆ ลงบนอินสตาแกรมได้ แต่เมื่อลองใช้บัญชีอินสตาแกรมของเพื่อนเข้าไปดูหน้าโปรไฟล์ของตัวเองกลับพบว่ามีการอัพโหลดภาพต่าง ๆ โดยที่เจ้าของบัญชีอินสตาแกรมไม่ได้เป็นคนอัพโหลดขึ้นไป คาดว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบแฮกบัญชีอินสตาแกรมแล้วเปลี่ยนรหัสผ่านนั่นเอง ภาพจาก : http://www.it24hrs.com/ อย่างเช่นเน็ตไอดอล สุนันทา เดวา หรือ น้องเอมมี่  เธอก็เคยไม่สามารถโพสภาพของเธอผ่านทาง Instagram ได้ “เพราะมีผู้แฮคขโมยบัญชี Instagram ของเธอไป” คุณเคน ภูภมิ ก็ถึงกับงง เมื่อมีคนไป post comment ชวนสาวขึ้นคอนโด โดยที่เจ้าตัวบอกว่า ไม่ทราบเรื่องนี้จริงๆ คาดว่าน่าจะโดน hack บัญชี IG ไป และก็ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับศิลปิน ดารา คนดัง คนที่มีผู้ติดตามบน IG  มากๆ จนต้องเปิดบัญชี instagram ใหม่ หรือแม้แค่ผู้ใช้ธรรมดาก็โดนแฮคได้เช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ […]

รวมมิตร อินสตาแกรม แวะมาอ่านเสริมภูมิต้านทาน ตอนที่ 1

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้โซเชียลมีเดีย

อินสตาแกรม (Instagram) ถือว่าอีกหนึ่งโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลกจนมียอดผู้ใช้งานทะลุ 300 ล้านคน ยอดการเติบโตต่อปีเร็วกว่า Twitter หลายๆ ท่านที่เคยได้ตามข่าวสารของวงการเทคโนโลยีคงจะพอรู้กันดีว่าในเดือนกันยายน ปี 2013 นั้นทาง Facebook ได้เข้าซื้อ Instagram ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังมีจำนวนผู้ใช้อยู่ที่ 150 ล้านบัญชีเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกาเองจะมียอดผู้ใช้งาน Instragram มากถึง 90 ล้านบัญชีเลยทีเดียวในขณะที่ Twitter นั้นมียอดผู้ใช้งานอยู่ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 63 ล้านบัญชีเท่านั้น 6 ข้อห้ามที่ไม่ควรทำบนอินสตาแกรมเสี่ยงถูกลบบัญชีทันที 1. โพสต์ภาพหรือคลิปวิดีโอที่ไม่ใช่ของตัวเอง          บางครั้งคนที่เริ่มเล่นอินสตาแกรมใหม่ ๆ ยังมีจำนวนผู้ติดตามน้อย (Follwers) ทำให้คิดหาทางลัดด้วยการก๊อบปี้ภาพคนอื่นหรือหามาจากอินเทอร์เน็ต แล้วทำมาโพสต์ลงในอินสตาแกรมของตัวเองเพื่อเรียกยอดไลค์และจำนวนผู้ติดตาม ขอบอกว่าการกระทำแบบนี้ผิดและเสี่ยงถูกลบบัญชีการใช้งานทันที 2. โพสต์ภาพหรือคลิปวิดีโอสื่อลามกอนาจาร          อีกหนึ่งข้อห้ามที่มีอยู่ในทุกสังคมออนไลน์ นั่นก็คือการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร และเช่นเดียวกันบนอินสตาแกรมก็ห้ามโพสต์สิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เป็นภาพโปรไฟล์หรือโพสต์ลงในบัญชีของตัวเอง แน่นอนหากตรวจพบบัญชีอินสตาแกรมก็จะถูกลบทันที 3. โพสต์ภาพหรือคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย     […]

เตรียมใจก่อน Reset from Factory

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้แอนดรอยด์

ในหลายๆ กรณีที่จู่ๆ แอนดรอยด์คู่ใจของเราที่ใช้มันอยู่ทุกวัน ก็มีอาการรวนๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะการอัพเดทไม่สมบูรณ์บ้าง โดนไวรัสบ้าง แอพฯ บางตัวส่งผลให้ทำงานผิดพลาดบ้าง หลายคนพบเจอปัญหาเหล่านี้ ก็ทนๆ ใช้ไป จนสุดท้ายแอนดรอยด์กลับทนไม่ไหวซะเอง ดับไปซะดื้อๆ อย่างนั้น จะเปิดขึ้นมาก็ค้างอยู่หน้านู้น หน้านี้บ้าง จะเข้าไปทำการ Factory Reset (คืนค่าโรงงาน) ก็เข้าไม่ได้ เพราะไม่สามารถเปิดเมนู Setting (ตั้งค่า) ได้ ก็เลยแก้ปัญหาไม่ได้ไปซะงั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว การ Factory Reset นั้น นอกจากจะไปเปิดการใช้งานในส่วนของ Setting แล้ว ยังสามารถสั่งการตอนเปิดเครื่องเหมือน BIOS โหมดของ PC ได้ ซึ่งสำหรับแอนดรอยด์ ก็คือการ Hard Factory Reset ในส่วนของ Recovery Mode นั่นเอง ในการเข้าสู่ Recovery Mode ให้ได้นั้น จำเป็นต้องใช้ปุ่มต่างๆ บนมือถือในการกดเพื่อเข้าไป แต่ก็มีอีกปัญหาหนึ่งก็คือปุ่ม […]

Check ก่อน Share…ไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป, ความรู้โซเชียลมีเดีย

  “โซเชียลมีเดีย” แทบจะกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว เวลาคิดจะทำอะไร ก็จะมีการโพสต์แชร์ความรู้สึก อัพภาพถ่าย เรื่องราวต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่รู้หรือเปล่าว่า การโพสต์ทุกสิ่งทุกอย่างบางครั้งอาจจะส่งผลร้ายแรงต่อผู้โพสต์อย่างคาดไม่ถึง เคยคิดหรือไม่ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นจริงหรือไม่ ? เคยคิดหรือไม่ว่า จะมีใครได้รับผลกระทบจากข้อมูลเท็จบ้าง ? เคยคิดหรือไม่ว่า เรื่องที่ดูขำ ๆ ของเรา ในอีกมุมหนึ่งคือความเป็นความตายที่ไม่น่าขำ ?   หลายเหตุการณ์ในสังคม หากคิดให้ดีแล้ว ถ้าเรามีสติมากขึ้นในการรับฟังข่าวสาร เชื่อเถอะว่า มันลดผลกระทบในวงกว้างได้มาก แค่ในคลิกเดียว ! จากประเด็นดังกล่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) ICT Law Center ร่วมกับ ThaiCERTจึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและพูดคุยหัวในข้อ Check ก่อน Share: ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 ณ ห้อง Open Forum ชั้น 21 ETDA ผู้อำนวยการ ETDA – สุรางคณา วายุภาพ กล่าวว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์บนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลลักษณะ “ข่าวลือ ข่าวกระแส” หากผิดพลาดไปจะส่งผลกระทบเสียหายในวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวลือที่อาจสร้างความเกลียดชังให้เพิ่มขึ้น พร้อมย้ำถึงข้อควรระมัดระวังและตระหนัก คือ […]

CYOD ทางเลือกการใช้อุปกรณ์ไอทีส่วนตัวสำหรับองค์กร

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

ด้วยคอนเซปต์ที่จะให้พนักงานในองค์กร นำอุปกรณ์ไอทีส่วนตัวมาใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชันต่างๆ ในองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรลดต้นทุนการลงทุนกับอุปกรณ์พกพาของเหล่าพนักงานในบริษัทได้อย่างมหาศาล ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพนักงาน และเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กรได้อีกด้วย แต่ในหลายๆ ปีที่ผ่านมาปัจจัยหลักที่คงทำให้เทรนด์ BYOD ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน (ส่วนใหญ่องค์กรในบ้านเรา ยังคงรูปแบบ CYOD หรือ Choose Your Own Device อยู่) หรือเติบโตได้ต่อเนื่อง ก็มีสาเหตุอยู่หลายๆ ปัจจัย ที่น่าจะทำให้ BYOD ยังไม่เกิดในบ้านเรา เช่น:- ภาพจาก : Insight UK ผู้ใช้งาน หรือพนักงานในองค์กร – ในมุมมองของผมเอง นี่คือสาเหตุที่ควบคุมได้ยากที่สุดสำหรับองค์กร ด้วยหลายๆ สาเหตุ ที่ทำให้พนักงานไม่นิยมที่จะนำอุปกรณ์ของตัวเองมาใช้ร่วมกับงาน อย่างเช่นไม่อยากให้งานติดตามตัวไปทุกที่ ไม่อยากให้เครื่องต้องมารับภาระกับอีเมลงาน จนอาจจะทำให้แบตเตอรี่หมด หรือคิดว่าเครื่องที่ใช้ทำงาน ควรจะเป็นเงินขององค์กรเป็นคนรับผิดชอบ เป็นต้น ระบบด้านไอทีของบริษัท ไม่เอื้ออำนวยพอ – บางบริษัทอาจจะพร้อมที่จะก้าวไปสู่ BYOD แบบจริงจัง แต่กับบางบริษัทหรือองค์กรนั้น พยายามที่จะไปในจุดๆ นั้น แต่กลับไม่ได้ปรับปรุงอะไรให้มากพอที่จะทำให้ระบบของตัวเอง รองรับกับเทรนด์เหล่านี้ […]

BYOD (Bring Your Own Device)  กับความเสี่ยงขององค์กร 

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

  ปัจจุบันการที่บริษัทหลายแห่งอนุญาตให้พนักงานสามารถนำอุปกรณ์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น แลปท้อป เน็ตบุ้ค แทปเล็ต สมาร์ทโฟน และอื่นๆ มาใช้งานที่บริษัทกำลังเป็นกระแสความนิยมในหลายประเทศ ซึ่งรู้จักกันในนาม “ปรากฎการณ์ BYOD”(Bring Your Own Device) โดยมีข้อดีในแง่ของความสะดวกของตัวพนักงานเองที่ไม่ต้องถ่ายโอนไฟล์ไปมา อีกทั้งบริษัทเองก็ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้ออุปกรณ์บางตัวเพิ่มเติม แต่ความสะดวกเหล่านี้ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงต่อเครือข่ายและข้อมูลของบริษัท เนื่องจากจากความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสื่อสารของโลกที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วงปีที่ผ่านมา พบว่า “The Nexus of Forces” ของ Gartner เป็นกระแสที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพราะเป็นการผสมผสานรวมกันของ S-M-C-I (Social – Mobile – Cloud และ Information) นั่นคือความนิยมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook และ Twitter  ร่วมกับการใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งรวมถึงความนิยมในการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นในการติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่น Line และ WhatsApp การจัดเก็บข้อมูลทั้งส่วนตัวและข้อมูลองค์กรบนระบบ Cloud การใช้ฟรีอีเมล์ ได้แก่ Gmail และ Hotmail และการใช้งาน […]

BYOD ปรากฏการณ์ที่น่าทำความเข้าใจ

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เรามีอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งโทรศัพท์มือถือที่เป็นได้มากกว่ามือถือ แทบเล็ตที่ไม่เคยอยู่ห่างมือ และอีกสารพัดเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มากมายเต็มไปหมด หลายคนต่างมีอุปกรณ์เหล่านี้เป็นของตัวเอง และต้องยอมรับว่าหลายๆ อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ บริษัทและองค์กรอาจยังไม่อัพเดทหรือทันสมัยเพียงพอให้องค์กรใช้กันเท่าไร เราจึงเริ่มเห็นหลายคนรอบๆ ตัว นำอุปกรณ์เทคโนโลยีของตัวเองมาใช้กับงานตัวเองภายในบริษัทหรือองค์กรกันมากขึ้น (Bring Your Own Device- BYOD) โดยมีองค์กรบางส่วนที่รู้และไม่รู้ว่ามีการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ แต่หากคุณสามารถบริหารและวางแผนให้ดี มันจะเป็นสิ่งที่ดีต่อองค์กรเลยทีเดียว แน่นอนครับ อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยทำให้เราทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบันเราจะเห็นหลายๆ คนที่นำอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ของตัวเองมาใช้ภายในองค์กร เช่น โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค แทบเล็ต ซึ่งจะมีการนำมาเชื่อมต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์คของบริษัท ทำงานของตัวเองไป เช่น เชื่อมต่ออีเมล์ เก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ ฯลฯ สาเหตุส่วนใหญ่ที่หลายคนมักนำอุปกรณ์ตัวเองมาใช้ ได้แก่ เครื่องบริษัทเก่าเกินไป ทำงานไม่สะดวก ไม่ถนัด (บางคนใช้แมคแต่บริษัทมีวินโดว์ส) เพิ่มความสะดวกของตัวเองในการทำงานได้หลากหลายสถานที่มากขึ้นผ่านแทบเล็ต หรือโน้ตบุ๊คส่วนตัว ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กรต่างๆ ปัจจุบันจะดีไหมหากเราสามารถทำให้พนักงานนำอุปกรณ์ต่างๆ ของตัวเองมาใช้ภายในองค์กรได้ มาดูกันครับว่ามีข้อดี ข้อไม่ดี และวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ภาพจาก : shutterstock ข้อดีนำอุปกรณ์พนักงานมาที่ทำงาน คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร […]

ภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับ NFC

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

ตอนที่แล้วเล่าให้ฟังว่า NFC ทำอะไรได้บ้าง เรียกได้ว่ามันคือกระเป๋าเงินเคลื่องที่ดีดีนี่เอง ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ NFC สามารถรับส่งได้นั้นจะทำได้ในปริมาณไม่มาก และระยะทางในการทำงานนั้นมีจำกัด แต่ก็ยังมีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่อาจทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาโจมตีผู้ใช้งานได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับ NFC นั้นเกิดจากรูปแบบการทำงานที่จะเน้นความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารเป็นหลัก จึงอาจทำให้ไม่มีการยืนยันตัวตนที่ดีพอ นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบัน NFC ยังไม่มีการเข้ารหัสลับข้อมูลที่รับส่งในการทำงานระดับฮาร์ดแวร์ส่งผลให้เกิดปัญหาภัยคุกคาม เช่น การระงับการให้บริการ (Denial of Service) หรือ DoS เกิดจากการสัมผัสอุปกรณ์ NFC กับแท็กที่ว่างเปล่า (empty tag) ถึงแม้จะทำให้เกิดเพียงข้อความเตือนถึงความผิดพลาด แต่ก็ทำให้อุปกรณ์ต้องหยุดการทำงานชั่วคราว การดักฟังหรือดักข้อมูล (Eavesdropping หรือ Sniffing) เช่น อาศัยช่องโหว่ของมาตรฐาน ISO14443 และ ISO18092 ซึ่งเปิดช่องทางให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถดักจับข้อมูลระหว่างการขนส่ง และยังมีช่องโหว่ของโหมดไร้แบตเตอรี่ (battery-off mode) นั่นคือ แม้ว่าอุปกรณ์ NFC ที่ใช้แทนบัตรสมาร์ทการ์ด (เช่น ใช้ระบุตัวตน หรือใช้ชำระสินค้าหรือบริการ) จะถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่อง แต่ผู้ประสงค์ร้ายก็ยังสามารถดักข้อมูลจากอุปกรณ์ได้อยู่ดี การปลอมตัว (Masquerade) หรือการลอกเลียน […]