ปรับแต่งไอโฟนอย่างไรให้ประหยัดแบตมากที่สุด !!!

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ไอโฟน

ปัญหากวนใจ สำหรับผู้ใช้ iPhone ส่วนใหญ่ ก็คือ แบตเตอรี่ไม่พอใช้งานในแต่ละวัน เนื่องจากความจุของแบตเตอรี่ในตัวเครื่องที่ให้มาน้อยเกินไป แต่สำหรับผู้ใช้ iPhone 6 และ iPhone 6 Plus คงจะเบาใจไปได้บ้าง เนื่องจากความจุแบตเตอรี่ที่ให้มา มากกว่า iPhone รุ่นอื่นๆ แต่ล่าสุด บน iOS 8 มีผู้ใช้บางราย เริ่มสังเกตได้ว่า หลังจากอัพเดทไปแล้ว มีการสูบแบตเตอรี่มากกว่าแต่ก่อน นั่นเป็นเพราะว่า iOS 8 มีฟีเจอร์และลูกเล่นใหม่ๆ ที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง ภาพจาก : http://www.techmoblog.com/ ผู้ใช้ iPhone จะใช้งานอย่างไร ให้ประหยัดแบตเตอรี่ ด้วยการปิดฟังก์ชันการใช้งานที่ไม่จำเป็นนั่นเอง โดยทริคนี้ นอกจากจะใช้กับ iOS 8 ได้แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับเวอร์ชันอื่นๆ ได้อีกด้วย แต่ก่อนอื่น เรามาดูวิธีการตรวจสอบว่าแอปพลิเคชันไหนกินแบต iPhone มากที่สุด จากหน้าจอหลักเลือกรายการ [Settings] > [General] เลือกเมนู[Usage] […]

เลิกชาร์จแบตมือถือแบบผิด ๆ ป้องกันแบตไม่เสื่อมไว

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

ภาพจาก : www.it24hrs.com/ การชาร์จแบตเตอรี่ให้กับมือถือกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของทุกคนในยุค ปัจจุบัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ามือถือเป็นส่วนของของการใช้ชีวิตไปแล้ว แต่หลายคนไม่ทราบว่าการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยวิธีเหล่านี้นั้นเป็นการทำที่ไม่ ถูกต้อง นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ก็อาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว และไม่ปลอดภัยอีกด้วย ภาพจาก : www.iphone-droid.net/ การใช้อะแดปเตอร์และสายชาร์จมั่ว หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าอะแดปเตอร์ตัวไหนก็ใช้ชาร์จได้เหมือนกัน ซึ่งก็ถูกในบางส่วน หารู้ไม่ว่าอะแดปเตอร์หรือตัวแปลงกระแสไฟฟ้านั้นแตกต่างกันไปตามอุปกรณ์ที่ ต้องการชาร์จไฟ โดยที่ตัวอะแดปเตอร์จะมีข้อมูลเชิงเทคนิคบอกเอาไว้ คือ Input-Output หรือกระแสไฟเข้า-ไฟออก ภาพจาก : www.iphone-droid.net/ ข้อมูลทางเทคนิคนี้สำคัญมาก อย่าลืมสังเกตกันด้วยนะ เช่น Input 100-240V หมายความว่าอะแดปเตอร์ตัวนี้รองรับกระแสไฟฟ้าไหลเข้าที่มีปริมาณแรงดันไฟ 100-240 โวลต์ (ในประเทศไทย ใช้แรงดันไฟฟ้าที่  220 โวลต์) ซึ่งใช้กับไฟบ้านในประเทศไทยได้นั่นเอง ตรงนี้จะไม่ค่อยเจอปัญหากันเพราะตัวที่วางขายในบ้านเราก็รองรับอยู่แล้ว แต่จะมีปัญหาเมื่อนำไปใช้งานในต่างประเทศหรือนำมาจากต่างประเทศ ดังนั้นต้องดูข้อมูลตรงนี้ก่อนใช้งานด้วย ต่อมาคือ Output 2A หมายความว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามาชาร์จสมาร์ทโฟนจะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ 2A (2000mAh) ต่อชั่วโมง ถือว่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าเร็วมาก ดังนั้นต้องดูด้วยว่ามือถือของเรารองรับปริมาณกระแสไฟฟ้าขนาดนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ จะฉลาดพอที่จะรับรู้กระแสไฟฟ้าที่กำลังชาร์จให้กับตัวเอง แต่เราก็ต้องมีความเข้าใจในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นใช้อะแดปเตอร์กับสายชาร์จที่มากับตัวเครื่องจะดีที่สุด […]

การแอบสืบความลับจากการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในยุค 1G ไม่ได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันการดักฟัง ซึ่งทำให้ใครก็ตามที่มีเครื่องรับสัญญาณวิทยุที่ปรับคลื่นความถี่ตรงก็สามารถฟังการสนทนาในการโทรนั้นได้ ตั้งแต่เครือข่ายในยุค 2G เป็นต้นมาได้มีการปรับปรุงเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านี้ โดยผู้ออกแบบได้เพิ่มเทคโนโลยีการเข้ารหัสในมาตรฐานการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อพยายามป้องกันการดักฟัง อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีหลายๆอย่างเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาไม่ดีนัก อาจมีให้บริการจากผู้ให้บริการรายหนึ่งแต่ไม่มีให้ในผู้ให้บริการอีกรายหนึ่ง และบางครั้งก็นำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือใช้มาตรฐานทางเทคนิคที่ล้าสมัยแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสบ่อยมากที่ใครก็ตามที่มีเครื่องรับสัญญาณวิทยุที่เหมาะสมก็สามารถดักฟังการโทรและดักจับข้อความตัวอักษรที่ส่งไปนั้นได้ ถึงแม้ผู้ให้บริการจะใช้มาตรฐานทางอุตสาหกรรมที่ดีที่สุด แต่ก็ยังมีคนที่สามารถดักฟังได้อยู่ดี อย่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอง ก็สามารถดักฟังและบันทึกข้อมูลทั้งหมดว่าใครเป็นผู้โทรหรือส่งข้อความมา ถึงใคร เมื่อใด และพูดอะไรกันบ้าง ข้อมูลดังกล่าวนี้อาจถูกส่งให้กับรัฐบาลในประเทศหรือต่างประเทศ ผ่านการทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ในบางกรณี รัฐบาลต่างประเทศยังแฮกระบบของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือด้วย เพื่อลอบเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ วิธีปฏิบัติที่ปลอดภัยที่สุด คือการสันนิษฐานว่าการโทรและการส่งข้อความ SMS แบบเดิมไม่ได้ปลอดภัยจากการดักฟังหรือการบันทึกการสนทนาหรือข้อความ ถึงแม้ว่ารายละเอียดทางเทคนิคจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสถานที่และแต่ละระบบ โดยส่วนมาก การป้องกันทางเทคนิคมักไม่แข็งแกร่ง และสามารถเลี่ยงได้ในหลายๆ สถานการณ์ สถานการณ์อาจแตกต่างออกไป เมื่อคุณใช้แอปการติดต่อสื่อสารที่ปลอดภัยเพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าทางเสียงหรือข้อความ เนื่องจากแอปเหล่านี้สามารถนำการเข้ารหัสมาใช้ เพื่อป้องกันการติดต่อสื่อสารของคุณ การเข้ารหัสนี้สามารถให้การป้องกันที่แข็งแกร่งกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าได้ ระดับของการป้องกันที่คุณได้รับจากการใช้แอปการติดต่อสื่อสารที่ปลอดภัยเพื่อติดต่อสื่อสาร จะขึ้นอยู่กับแอปที่คุณเลือกใช้และวิธีการทำงานของแอป คำถามที่สำคัญข้อหนึ่งคือแอปการติดต่อสื่อสารนั้นใช้การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end encryption) เพื่อป้องกันการติดต่อสื่อสารของคุณหรือไม่ และผู้พัฒนาแอปมีวิธีการที่ทำให้สามารถยกเลิกหรือเลี่ยงการเข้ารหัสหรือไม่ ปัจจุบันมีสาขาเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญจะเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือที่ยึดมาได้เข้ากับเครื่องตรวจ ซึ่งจะอ่านข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งรายการบันทึกของกิจกรรมที่ทำก่อนหน้านี้ การโทร และการรับส่งข้อความ […]

การโจมตีผ่าน Bluetooth

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้ทั่วไป

ปัจจุบันเทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีการใช้งานในบริเวณแคบๆ เทคโนโลยีนี้ทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง สมาร์ทวอทช์ แว่นตาอัจฉริยะ เป็นต้น อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีใหม่มักจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยเฉพาะเทคโนโลยีไร้สาย โดยอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะมีการรับส่งข้อมูลกันกับสมาร์ทโฟน แฮกเกอร์อาจใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนแล้วเจาะเข้าระบบเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบได้ ภัยคุกคามหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายจากเทคโนโลยี Bluetooth ที่สำคัญดังต่อไปนี้ Bluejacking หมายถึงการส่ง Message ขยะไปยังอุปกรณ์ที่เปิดการเชื่อมต่อบลูทูธ โดยอาจจะมีวัตถุประสงค์ในการโฆษณาหรือก่อกวนเท่านั้น อย่างไรก็ดี Bluejacking อาจจะเป็นช่องทางในการส่งไวรัสหรือโทรจัน เหมือนไวรัสที่ใช้ช่องทางอีเมล์ในการแพร่กระจาย ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเปิดข้อความหรือรูปภาพที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งที่คุณไม่รู้จัก Bluesnarfing คือเทคนิคที่แฮกเกอร์ใช้ในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลของอุปกรณ์ที่เปิดการเชื่อมต่อผ่านบลูทูธ ซึ่งอาจจะหมายถึง ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ รูปภาพ รวมถึง ปฏิทินนัดหมายของเครื่องเป้าหมายแต่จะไม่สามารถโทรศัพท์หรือส่งข้อความได้ซึ่ง ต่างจาก bluebugging อย่างไรก็ดีอุปกรณ์ที่ขาดระบบป้องกันมักจะเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าๆเท่านั้น Bluebugging อันตรายกว่า Bluesnarfing เนื่องจากแฮกเกอร์สามารถเข้าควบคุมเครื่องได้โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัวซึ่งรวมถึงความสามารถในการส่งข้อความ Text message การโทรศัพท์ และการต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องที่ถูกโจมตี อย่างไรก็ดีหากไม่มีการใช้อุปกรณ์พิเศษแฮกเกอร์จำเป็นต้องอยู่ในระยะ 10 เมตรเพื่อทำการควบคุมอุปกรณ์ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการอัฟเกรดซอฟแวร์ของอุปกรณ์ Car Whisperer มีลักษณะใกล้เคียงกับ Bluesnarfing โดยจะเกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถยนต์โดยแฮกเกอร์สามาถที่จะส่งข้อความเสียง ไปยังรถที่ถูกเชื่อมต่อ […]

การล็อกหน้าจอสมาร์ทโฟน

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์, ความรู้ไอโฟน

ระบบมือถือสมัยใหม่จะมีระบบควบคุมการเข้าถึง เช่น การใช้รหัสผ่าน การสแกนลายนิ้วมือ การใช้ PIN โค้ด หรือแม้กระทั่งการใช้ระบบจดจำเสียง (Voice Recognition) และการสแกนภาพหน้าเป็นต้น ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการถอดรหัสในเข้าเข้าถึงระบบมือถือได้โดยง่าย สำหรับคนที่มักจะเผลอวางสมาร์ทโฟนไว้และอาจถูกขโมย หรือโดนเพื่อนแกล้งมาแอบเปลี่ยนวอลล์เปเปอร์ หรือ แอบมาใช้งาน Facebook ในกรณีแบบนี้ก็ดีไป แต่ถ้าหากคุณลืมโทรศัพท์ไว้จริงๆล่ะ แล้วมีผู้ไม่หวังดีมาหยิบเอาไปใช้งาน ทำ Factory reset แล้วใช้งานต่อได้ทันที ดังนั้นเราควรตั้งค่าความเป็นส่วนตัวก่อนเข้าใช้งานดีกว่าเพื่อป้องกันข้อมูลถูกขโมย สำหรับสมาร์ทโฟน Android ทั่วไปนั้นมีฟีเจอร์สำหรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้อยู่แล้ว เราสามารถตั้งด้วยวิธีง่ายๆ ไปที่ Settings > Lock screen ดูที่ Screen Security แตะที่ Screen Lock โดย Screen Lock จะมีรูปแบบให้เราเลือกอีกดังนี้ Swipe – แบบปาดหรือสไลด์เพื่อปลดล็อคหน้าจอ วิธีนี้จะไม่ปลอดภัย เพราะใครก็สามารถสไลด์เพื่อปลดล็อคเข้ามาใช้งานได้ ถ้าหากต้องการความปลอดภัยสูงวิธีนี้ไม่แนะนำ เนื่องจากอาจสามารถเดาได้ง่าย โดยอาจจะสังเกตจากรอยบนหน้าจอมือถือ Pattern – แบบวาดตามจุด […]

การโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ (OS)

Posted on Leave a commentPosted in ความรู้แอนดรอยด์, ความรู้ไอโฟน

มีการค้นพบช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการมือถือเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือ iOS มีการประกาศและเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็จะทำการออกแพทช์ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จะมาติดตั้งในระบบเพื่อปิดช่องโหว่ที่ค้นพบเหล่านั้น โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์จะมีการออกแพทช์มาเป็นประจำ และเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ที่จะต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแพทช์เหล่านี้เป็นประจำ ไม่เช่นนั้นระบบก็จะยังคงมีช่องโหว่และอาจเป็นช่องทางให้แฮกเกอร์หรือมัลแวร์เข้ามาในระบบได้ นักวิจัยความปลอดภัยระบบไอทีของ Zimperium ประกาศข่าวเรื่องการค้นพบช่องโหว่ Stagefright ซึ่งเป็นช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ Android ที่ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เป็นช่องทางในการเจาะเข้าสู่อุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการดังกล่าวด้วยการส่ง MMS ซ่อนมัลแวร์มาล่อผู้ใช้ กระบวนการนี้อาจต้องการหรือไม่ต้องการการกดรับจากผู้ใช้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ตั้งค่าให้แอพใดเป็นแอพที่ทำงานกับ MMS เป็นหลัก หากใช้ Messenger อันเป็นแอพดั้งเดิมของ Android สำหรับเปิด MMS มันจะไม่ทำการยุ่งเกี่ยวใดๆ กับ MMS ที่แฝงมัลแวร์มาตราบใดที่ผู้ใช้ไม่เปิดอ่านข้อความภาพนั้นเอง แต่หากผู้ใช้เลือกให้ Hangouts เป็นแอพหลักสำหรับเปิด MMS แล้ว มันจะทำการโหลดเนื้อหาของ MMS มาให้ผู้ใช้ก่อนแม้ว่าตัวผู้ใช้เองจะยังไม่กดเรียกดู MMS แต่อย่างใด ซึ่งในกรณีหลังก็ถือเป็นการเริ่มกระบวนการทำงานของมัลแวร์ได้ทันที Google เองรู้ตัวเกี่ยวกับช่องโหว่อันนี้แล้ว แต่การที่จะอุดช่องโหว่นี้ได้ ก็ต้องรอให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android เป็นผู้ปล่อยอัพเดตเฟิร์มแวร์กันเอง โดยจนถึงขณะนี้ Zimperium ยืนยันว่ามีเพียงแค่ Nexus 6 และ […]

Ransomware โจมตีสมาร์ทโฟน

Posted on Leave a commentPosted in รายงานภัยไซเบอร์

แรนซัมแวร์เริ่มแพร่กระจายเข้ามาในระบบมือถือมากโดยเฉพาะระบบแอนดรอยด์เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการถูกโจมตีเนื่องจากอาจจะมีช่องโหว่มากกว่าระบบอื่น ในช่วงก่อนหน้านี้เรามักจะพบไวรัส โทรจัน และเวิร์มในการโจมตีระบบและเครื่องของเราทำให้เครื่องเราช้าและไม่สามารถใช้งานได้ แต่ในปัจจุบันพบว่ามีเครื่องโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนไม่น้อยที่ติดแรนซัมแวร์ โดยแรนซัมแวร์เป็นมัลแวร์ที่เริ่มมุ่งเป้าไปยังผู้ใช้งานมือถือแบบสมาร์ทโฟน โดยอาจจะแพร่ผ่านการส่งสแปมอีเมลไปยังผู้ใช้งานต่างๆ ด้วยหัวข้อหรือคำพูดที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดให้คนกดเข้าไปเพื่ออ่านหรือดาวน์โหลดไฟล์แนบเหล่านั้น โดยเมื่อเครื่องผู้ใช้งานติดมัลแวร์ประเภทนี้แล้ว แรนซัมแวร์จะเริ่มทำงานโดยการเข้ารหัสเอกสารข้อมูลต่างๆภายในเครื่องทำให้ไม่สามารถอ่านเอกสารเหล่านั้นได้ หรือในบางครั้งถึงกับล็อกเครื่องไว้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าใช้งานเครื่องได้เลย จากนั้นแรนซัมแวร์ก็จะแสดงข้อความขู่ผู้ใช้งานเพื่อให้จ่ายเงิน โดยปัจจุบันมักจะให้จ่ายในรูปแบบของบิทคอย (Bitcoin) ให้กับแฮกเกอร์ก่อนที่ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกลบทิ้งไป ขั้นตอนการทำงานของแรนซัมแวร์ พยายามแพร่กระจายผ่านเว็บไซด์ต่างๆหรือแนบไฟล์ไปในอีเมล เมื่อผู้ใช้งานเปิดใช้งานจะสร้างเซอร์วิส (Service) และฝังการทำงานของเซอร์วิสไปยัง Registry ของเครื่อง เพื่อให้ทำงานทุกครั้งเมื่อมีการเปิดเครื่อง แรนซัมแวร์จะติดต่อกลับไปยังเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องควบคุมสั่งการ (C&C : Command and Control Server) ของแฮกเกอร์เพื่อ ดาวน์โหลดคีย์สำหรับการเข้ารหัสและคอนฟิกต่างๆของแรนซัมแวร์พร้อมทั้งลงทะเบียนกับเครื่องควบคุมสั่งการเพื่อระบุว่าเครื่องที่ติดอยู่ที่ใด นำคีย์และค่าคอนฟิกที่ได้รับจากเครื่องควบคุมสั่งการมาเข้ารหัสเอกสารข้อมูลต่างๆภายในเครื่อง แสดงหน้าข่มขู่ผู้ใช้งานพร้อมกับบอกลิงค์สำหรับวิธีการโอนเงิน Bitcoin ไปให้กับแฮกเกอร์ ในฐานะที่เป็นโทรศัพท์มือถือกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับการเรียกดูอินเทอร์เน็ตที่เราเห็นแฮกเกอร์และมัลแวร์ผู้ผลิตขยับของพวกเขาที่จะกำหนดเป้าหมายมาร์ทโฟนและแท็บเล็ในแต่ละเดือนจะเห็นวิธีการโอนเงินเพิ่มเติมจากพีซีไปยังโทรศัพท์มือถือโลกที่มีการแปลล่าสุด การหลอกลวงบนมือถือก็มีการแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งเทคนิคเดิมๆที่ใช้บนระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็ยังคงสามารถใช้ได้บนมือถือ การโจมตีมัลแวร์ประเภทเรียกค่าไถ่หรือแรนซัมแวร์ (Ransomware) ก็ยังคงมีและใช้งานได้เช่นกันบนระบบมือถือ โดยแรนซัมแวร์ที่ชื่อมว่า Sim.locker ก็กำลังแพร่ระบาดเทคนิคการโจมตีก็คล้ายๆกับที่โจมตีบนระบบคอมพิวเตอร์กล่าวคือเมื่อติดแล้วมัลแวร์จะทำการเข้ารหัสไฟล์ข้อมูลที่สำคัญแล้วเรียกค่าไถ่หรือให้ผู้ใช้จ่ายเงินถึงจะได้คีย์มาใช้ในการปลดล็อก ในยุคที่ข้อมูลเกือบทุกอย่างถูกเก็บในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเพื่อความสะดวกในการประมวลผล การค้นหา และการเข้าถึงนั้น ส่งผลให้ชีวิตของผู้ใช้งานระบบใดๆ ก็ตามง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรูปภาพ ซึ่งสามารถเก็บไว้ดูได้นานขึ้นพร้อมกับความละเอียดที่ดีขึ้น และการเก็บข้อมูลอื่นๆ […]

Trojan บนมือถือ ตอนที่ 2

Posted on Leave a commentPosted in รายงานภัยไซเบอร์

โทรจัน (Trojan) เป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษคือจะแอบแฝงมากับโปรแกรมอื่น โดยเมื่อติดบนเครื่องเป้าหมายแล้วมันจะแอบทำงานบางอย่างโดยที่ไม่ให้เจ้าของเครื่องเป้าหมายรู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่อันตรายต่อเครื่องของผู้ใช้งานเอง เช่น การขโมยข้อมูลที่สำคัญโดยอาจะด้วยวิธีการค้นหาไฟล์ที่เก็บไว้ในเครื่องหรือการเฝ้าอ่านข้อมูลที่ส่งเข้าออก โทรจันมีแพร่หลายในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป และปัจจุบันก็เริ่มคุกคามเข้ามาในระบบมือถือแล้วด้วยเช่นกัน โดยใช้เทคนิคเดิมที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เปลี่ยนมารันบนเครื่องโทรศัพท์มือถือนั่นเอง Kaspersky บริษัทผู้ผลิต  Antivirus และด้านรักษาความปลอดภัยจากรัสเซียได้เผยพบ โทรจันพันธุ์ใหม่ ชื่อ “Backdoor.AndroidOS.Obad.a” ระบาดสมาร์ทโฟน โดยมันสามารถส่ง SMS ข้อมูลมือถือต่างๆของคุณ พร้อมกับแอบดาวน์โหลดมัลแวร์ตัวอื่นๆมาติดตั้ง บนมือถือ พร้อมกับปล่อยไวรัสนี้ไปยังอุปกรณ์อื่นผ่านทาง Bluetooth  และผ่าน remote ระยะไกลด้วย โทรจันนี้เรียกชื่อสั้นๆนี้ว่า Obad ไม่ธรรมดา มีโค้ดที่ค่อนข้างซับซ้อน มันมากับแอพปลอมนี้ เป็นแอพมัลแวร์ที่ลบยาก มีการทำงานที่ซับซ้อนกว่ามัลแวร์ตัวอื่นๆ ไม่สามารถลบได้ทันทีแม้จะใช้สิทธิ์ขั้นสูงสุดลบได้ก็ตาม ทั้งนี้เพราะมัลแวร์ใช้ช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ Android ยึดอุปกรณ์ไว้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องที่มีโปรแกรม Kaspersky บนสมาร์ทโฟน สามารถตรวจจับ Obad ได้แล้ว แต่นับว่าเป็นการเจอโทรจันบน Android ที่ซับซ้อนฆ่ายากที่สุดกว่าทุกๆตัวที่เจอมา และยังมีการระบาดอยู่ การแพร่ระบาดของโทรจันมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเป้าหมายหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจสูงให้กับบรรดาแฮกเกอร์ก็คือการโจมตีระบบ Internet Banking […]

ภัยคุกคามที่มากับอุปกรณ์ข้างเคียงมือถือ

Posted on Leave a commentPosted in รายงานภัยไซเบอร์

เป้าหมายการโจมตีของแฮกเกอร์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะมือถือเท่านั้น แต่เป็นอุปกรณ์ข้างเคียงที่มีการเชื่อมต่อกับมือถือนั้น เช่น สมาร์ทวอทช์ที่กำลังเป็นที่นิยม หรืออุปกรณ์อื่นๆที่สวมใส่ตามร่างกายอื่นๆ (Wearables) เช่นอุปกรณ์วัดสุขภาพ เป็นต้น โดยจุดประสงค์อาจเป็นแค่การสรางความรำคาญหรืออาจมีข้อมูลที่สำคัญที่อาจจัดเก็บในอุปกรณ์เหล่านี้ก็ได้ ปัจจุบันอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Device) ได้กลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วยเช่นกัน ข้อมูลในอุปกรณ์เหล่านี้อาจถูกแฮกก์จากอาชญากรไซเบอร์ได้เช่นกับมือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่และเสี่ยงต่อช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัยอยู่มาก อาจตกเป็นเป้าหมายแฮกเกอร์ที่หวังผลจากข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ ซึ่งถ้าหากไม่รีบหามาตรการรักษาความปลอดภัยจากเรื่องเฉพาะตัวอาจกลายเป็นความเสี่ยงระดับองค์กร ในช่วงศตวรรษนี้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีพัฒนาการที่โดดเด่นอย่างมากจากคอมพิวเตอร์ที่เคยใช้งานอยู่บนโต๊ะ มาใช้งานอยู่บนตักแทน จากนั้นย้ายเข้าไปอยู่บนมือ และในที่สุดก็อยู่บนอวัยวะอื่นๆบนร่างกายของเรา เนื่องด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอุปกรณ์ Wearable Device หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่จะมีมากขึ้นพอๆกับมือถือหรือมากกว่า ความนิยมที่เพิ่มขึ้นเป็นแรงผลักดันมาจากบรรดาแก็ดแจ็ตทั้งหลาย เช่น อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะต่างๆ ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น Fitbit และสายรัดข้อมืออัจฉริยะเพื่อสุขภาพของ Jawbone เป็นต้น กูเกิลได้เปิดตัวกูเกิลกลาส (Google Glasses) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สวมใส่ในรูปของแว่นตา ซึ่งมีเพียงไม่กี่พันชิ้นให้กับคนที่อยากทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆโดยเป็นรุ่นที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาต่อ ต่อมาแอปเปิ้ลได้กระโดดลงสู่สมรภูมิ Wearable Device ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อ iWatch ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ในปัจจุบัน ผู้ใช้ต่างเชื่อมต่อตัวเองกับอินเตอร์เน็ตมากขึ้นทุกที สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือเรื่องของความเสี่ยงและสิ่งที่แฝง มากันอุปกรณ์ใหม่อย่าง Wearable Device ไม่ว่าจะเป็นสายรัดข้อมือสำหรับการออกกำลังกายที่สามารถมอนิเตอร์และจับข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเราโดยใช้ GPS หากอีกมุมหนึ่งกลับเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประสงค์ร้ายได้ข้อมูลที่เป็นรายละเอียดกิจวัตรประจำวัน และรูปแบบการใช้ชีวิตของเรารวมถึงที่อยู่ปัจจุบันไปได้เช่นกัน […]

การหลอกลวงบนมือถือ

Posted on Leave a commentPosted in รายงานภัยไซเบอร์

การหลอกลวงทางโทรศัพท์วิธีหนึ่งที่นิยมโดยกลุ่มมิจฉาชีพคือการใช้กลอุบายหลอกลวง โดยกลุ่มมิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ติดต่อท่านเพื่อขอให้ทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ โดยใช้กลอุบายหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าท่านเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือมีเงินภาษีคืน และขอให้ท่านเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน รวมถึง การขอให้ท่านทำรายการโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มหรืออินเตอร์เน็ตแบงกิ้งให้แก่บุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ มิจฉาชีพอาจแอบอ้างติดต่อท่านในนามธนาคาร โดยกำหนดให้หมายเลขบัญชีและรหัสโฟน (Phone Code) หรือหมายเลขอื่นๆ ของธนาคาร ปลากฎเป็นเบอร์ที่ติดต่อเข้าไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของท่าน เพื่อหลอกท่านให้หลงเชื่อว่าเป็นการติดต่อจากธนาคาร ดังนั้นหากได้รับการติดต่อในลักษณะดังกล่าว ขอให้อย่าหลงเชื่อ โดยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร ที่เบอร์หลักของธนาคารหรือหน่วยงานนั้นๆ ก่อนดำเนินการทำธุรกรรมใดๆ หรือหากได้หลงเชื่อและโอนเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพแล้ว ก็ไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและติดต่อธนาคาร และหากท่านได้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินไปแล้ว เช่น รหัสส่วนตัว ท่านต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อขอยกเลิกการใช้บัตรนั้น โดยปกติองค์กรส่วนใหญ่หรือธนาคารจะไม่มีนโยบายติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัว หรือติดต่อท่านโดยใช้เสียงจากระบบอัตโนมัติ หรือให้ท่านทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรเปลี่ยนรหัสส่วนตัวเป็นระยะๆ และอัพเดทโปรแกรมต่อต้านไวรัสบนมือถือที่ใช้งาน อีกเทคนิคหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงคือการส่งข้อความ โดยมีกลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS, MMS หรืออีเมลหลอกลวง หรือจัดทำหน้าจอ (pop-up) โดยแอบอ้างว่าเป็นธนาคาร ให้ผู้รับกรอกข้อมูลส่วนตัว ดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมลงบนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวมีมัลแวร์ ไวรัสหรือโทรจันที่สามารถขโมยรหัสประจำตัว รหัสลับส่วนตัว และรหัสผ่านครั้งเดียว (OTP) ที่ส่งทาง SMS เพื่อใช้ลักลอบเข้าทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของท่านผ่านบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต […]